แนวทางการพัฒนาสะพานมอร์ต้าในท่อพีวีซีด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร

Main Article Content

ปิยรัตน์ เปาเล้ง

บทคัดย่อ

          บทความนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารในการวิเคราะห์โครงสร้างสะพานมอร์ต้าในท่อพีวีซี ซึ่งเป็นแนวทางการประยุกต์ใช้โครงสร้างที่ต้องอยู่ในสภาวะที่มีผลกระทบจากน้ำเค็มหรืออาคารเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มต่างๆ เช่น อาคารเลี้ยงกุ้ง อาคารเลี้ยงปลา อาคารเลี้ยงหอย เป็นต้น ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวจะประสบปัญหาในด้านของการเกิดสนิมในเหล็กเสริมของโครงสร้างรวมถึงในกรณีที่มีองค์ประกอบเป็นเหล็ก จะมีความเสื่อมสภาพของโครงสร้างได้อย่างรวดเร็วและไม่สามารถรับน้ำหนักได้ตามที่ออกแบบ ดังนั้นจึงได้ประยุกต์ใช้โครงสร้างจากท่อพีวีซี (PVC) มาใช้เป็นโครงสร้างสะพานรับน้ำหนักโดยใช้เป็นท่อขนาด 4 นิ้วบรรจุมอร์ต้า(ปูนทราย) ความกว้างรวม 2.6 เมตร ยาว 6.65 เมตร สูง 0.8 เมตร ดำเนินการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของสะพานท่อพีวีซีบรรจุมอร์ต้าด้วยวิธีให้น้ำหนัก (Load Test) โดยจะเพิ่มน้ำหนักที่บริเวณกึ่งกลางของสะพานครั้งละ 20 กิโลกรัม และบันทึกผลการทดสอบการแอ่นตัวที่เกิดขึ้นบริเวณกลางสะพาน จากผลการทดสอบสรุปได้ว่าเมื่อพิจารณาการแอ่นตัวตามมาตรฐาน MBMA2012 (L/120) โครงสร้างสามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 560 กิโลกรัม ทั้งนี้ความสัมพันธ์ของความแข็งเกร็งของโครงสร้าง (K, Stiffness) จากความชัน(Slope) ของความสัมพันธ์ระหว่างแรงและการแอ่นตัวของโครงสร้างมีค่าประมาณ 57.87 กก./มม. จากนั้นจึงใช้การสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อเป็นต้นแบบในการออกแบบให้มีความเหมาะสมต่อไป อย่างไรก็ดีจากการทดสอบโครงสร้างสะพานมอร์ต้าในท่อพีวีซีมีความเป็นไปได้ในการนําไปประยุกต์ใช้กับงานโครงสร้างที่ต้องอยู่ในสภาวะที่มีผลกระทบจากน้ำที่มีซัลเฟตเข้มข้นหรือน้ำเค็มได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาคริต รักษมาตา. (2556). ความแม่นยำในการถอดแบบประมาณปริมาณวัสดุก่อสร้างในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ โดยวิธีทั่วไปและวิธีที่ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยประเภท A1 บริษัทแอลพีเอ็น ดีเวลอป. วิทยานิพนธ์์ปริญญาเคหพัฒนศาสตรมหาบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีชัย สำราญวานิช. (2552). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการทำนายการแทรกซึมของคลอไรด์ในคอนกรีตที่อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมคลอไรด์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปฐมา บุญรักษ์. (2560). การบาบัดฟอสฟอรัสในน้าจากการเลี้ยงกุ้งโดยแบคทีเรียสังเคราะห์แสง สีม่วงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ที่คัดแยกได้จากบ่อเลี้ยงกุ้ง (Phosphorus Removal in Rearing Water from Shrimp Cultivation by Selected Purple Non-Sulfur Bacteria from Shrimp Ponds). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ศูนย์วิจัยสุขภาพสัตว์น้ำสงขลา กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ. การใช้คลอรีนในฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล.

ภณสา จันทร์อุดม. (2560). แนวทางการใช้แบบจำลองสารสนเทศ อาคาร (BIM) จัดการข้อมูลอาคารและแบบก่อสร้างจริงเพื่อการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอาคารสำนักงาน. ปริญญานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาวี แป้นจุลสี และ อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ (2563). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาคารกับ โครงการก่อสร้างจริงกรณีศึกษา โครงการ บูสท์ ฟิตเนส ยิม. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25, ชลบุรี, 15-17 กรกฎาคม 2563, หน้า CEM17-1 – CEM17-8.

สุนิตา นุเสน และคณะ. (2565). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารใน การวิเคราะห์โครงสร้างอาคารในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย THE APPLICATION OF BUILDING INFORMATION MODELING IN STRUCTURAL ANALYSIS OF BUILDINGS IN EACH REGION OF THAILAND Paper presented at the. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27, จ.เชียงราย. 24-26 สิงหาคม 2565.

Al-Muqdadi, F., & Ahmed, A. (2022). APPLYING HERITAGE BUILDING INFORMATION MODELLING (HBIM) TO LOST HERITAGE IN CONFLICT ZONES: AL-HADBA'MINARET IN MOSUL, IRAQ. International Archives of the Photogrammetry, Remote Sensing & Spatial Information Sciences.

Murphy, M., McGovern, E., & Pavia, S. (2009). Historic building information modelling (HBIM). Structural Survey. 27 (4), 311-327.

P. Nusen, W. Boonyung, S. Nusen, K. Panuwatwanich, P. Champrasert, and M. Kaewmoracharoen. (2021). Construction planning and scheduling of a renovation project using bim-based multi-objective genetic algorithm. Appl. Sci. 11, 11.

PONHSAMPATEA LY. (2559 ). ความคงทนของคอนกรีตที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมันหลังแช่น้ำทะเลเป็นเวลา 5 ปี. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา). มหาวิทยาลัยบูรพา.

R. R. Politi, E. A., and M. E. İlal,. (2018). Project Planning and Management Using Building Information Modeling (BIM). Paper presented at the 13th International Congress on Advances in Civil Engineering, Izmir, Turkey. 12-14 September 2018