การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการอ่านเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้น ปีที่ 2

Main Article Content

ฉัตรปวีณ อำภา
ประไพศรี โห้ลำยอง
ภัทรียา รวยสำราญ
กานต์สิรี เผ่านาคธรรมรัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีอภิปัญญา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน 3) ศึกษาการใช้กลวิธีอภิปัญญา 4) เปรียบเทียบการใช้ทักษะการแก้ปัญหา และ  5) ศึกษาความคิดเห็น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มเดียวกัน วัดผลก่อนหลัง กลุ่มตัวคือ นักศึกษากลุ่ม 1EN/64 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกอ่านภาษาอังกฤษ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน 4) แบบสอบถามความคิดเห็น และ 5) แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   
          ผลการวิจัย 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ เท่ากับ 80.93 / 87.87, 2) ผลคะแนนความสามารถในการอ่านมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.11 โดยคะแนนความสามารถในการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกด้าน, 3) กลวิธีที่ผู้เรียนใช้มากที่สุด คือ การจัดการตนเอง (Self-Management) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46, 4) ผลการเปรียบเทียบการใช้ทักษะการแก้ปัญหาหลังการใช้รูปแบบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 29.64 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 ก่อนการใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  36.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.03 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ5) ความคิดเห็นของผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.18

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์.(2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์. 5 (3), 7 - 20

มาเรียม นิลพันธ์ .(2555). วิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นครปฐม: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2557). เติบโตตามศักยภาพสู่ศตวรรษที่21 ของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Afflerbach, P., Pearson, D., & Paris, S. (2018). Clarifying differences between reading skills and reading strategies. The Reading Teacher. 61 (5), 364-373.

Almasi, J. F. (2013). Teaching strategic process in reading. New York, NY: The Guilford Press.

Barbosa, H. S. (2014). Applying a metacognitive model of strategic learning for listening comprehension, by means of online-based activities, in a college course. (Master' s thesis). Universidad de La Sabana, Colombia.

Poon, J. (2013). Blended learning: An institutional approach for enhancing students' learning experiences. Journal of Online Learning and Teaching. 9 (2), 271-288.