การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนการย้อมสีเส้นกกจากพืชท้องถิ่น ตําบลท่าดินดํา อําเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ชุติมา สังคะหะ
โสรฌา เครือเมฆ
พรสิน สุภวาลย์
อักษร สวัสดี
อภิศักดิ์ คู่กระสังข์
ชัชญาภา วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมสีเส้นกกจากพืชในท้องถิ่นและพัฒนาแหล่งเรียนรู้การย้อมสีเส้นกกจากพืชในท้องถิ่นบ้านท่าดินดำ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสานและเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบจงเจาะประกอบด้วย พัฒนากรตำบลท่าดินดำ ครูโรงเรียนบ้านท่าดินดำ คณะกรรมการกลุ่มทอเสื่อกกบ้านท่าดินดำ จำนวน 15 คน พัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้ประเมิน เป็นสมาชิกกลุ่มทอเสื่อกกบ้านท่าดินดำ ประชาชนและเยาวชน อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 76 คน  ขั้นตอนการวิจัย แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การแต่งตั้งคณะกรรมการ 2. การสำรวจพืชให้สีในชุมชน 3. การพัฒนาองค์ความรู้วิธีการย้อมสีกกจากพืชท้องถิ่น และหาค่าสีด้วยเครื่องวัดสี General Colorimeter NR10QC 4. เก็บรวบรวมองค์ความรู้ และสร้างสื่อการเรียนรู้เป็นแผ่นพับ โปสเตอร์ และวีดิทัศน์ การประเมินคุณภาพสื่ออยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก 5. การประเมินแหล่งเรียนรู้ ด้านสถานที่ วีดิทัศน์ แผ่นพับ โปสเตอร์ การสาธิตและตัวอย่างของจริง ด้านการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น/ส่งเสริมอาชีพ และเครือข่ายการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้น มีความเชื่อมั่นที่ 0.925 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางและพรรณนา
          ผลการศึกษาพบว่า พืชที่คณะกรรมการกลุ่มอาชีพนำมาทดลองและคัดเลือกสำหรับการนำมาใช้ในการทอเสื่อและจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ คือ ฝักคูน มะม่วงหาวมะนาวโห่ และเปลือกประดู่ เพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก เส้นกกย้อมสีมีค่าเฉดสีดังนี้ ฝักคูนใช้สารช่วยย้อมขี้เถ้ากล้วย (L*, a*, b* = 36.29, 7.30, 16.65) และมะขามเปียก (L*, a*, b* = 34.38, 8.86, 17.11) ได้สีน้ำตาลเหลือง มะม่วงหาวมะนาวโห่ โดยสารช่วยย้อมทั้งสองชนิดให้ค่าเฉดสีที่แตกต่างกัน ขี้เถ้ากล้วย (L*, a*, b* = 48.99, 9.00, 16.16) ทำให้เส้นกกมีสีน้ำตาลเข้ม และมะขามเปียก (L*, a*, b* = 42.29, 9.70, 13.86) ทำให้เส้นกกมีสีแดงชมพู  เปลือกประดู่ใช้สารช่วยย้อมขี้เถ้ากล้วย (L*, a*, b* = 39.14, 8.60, 15.02) ได้สีน้ำตาลทอง และมะขามเปียก (L*, a*, b* =


31.11, 41.76, 5.34) ทำให้เส้นกกมีน้ำตาลดำและจากการนำเส้นกกที่ย้อมแล้วมาล้างน้ำกลั่นแล้วผึ่งลมไว้ 20 วัน พบว่า สีของเส้นกกที่ได้จากการย้อมจากพืชทั้ง 3 ชนิด มีสีจางลง 
          การพัฒนาแหล่งเรียนรู้การย้อมสีเส้นกกในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของของชุมชนบ้านท่าดินดำ ผลการประเมินพบว่า ผู้ประเมินส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.5 อายุต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 46.1 สื่อที่ชอบมากที่สุดคือสื่อการสาธิตและตัวอย่างของจริง ร้อยละ 55.3 และมีความพึงพอใจสื่อในแหล่งเรียนรู้ทุกด้านพึงพอใจระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศศิณี นามกร, พรเพ็ญ อาธรกิจวัฒน์, และขนิษฐา วัชราภรณ์. (2563). การศึกษาและพัฒนากระบวนการย้อมสีกกทอเสื่อด้วยสีธรรมชาติจากครั่ง (743-750). การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า และคณะ. (2556).การมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาชุมชนลาดพร้าว. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11 (28), 35-48.

ชไมพร ดิสถาพร และคณะ. (2564). การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้. เอกสารประกอบการสอน. ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุติมา สังคะหะ และคณะ. (2665) โครงการการย้อมสีกกจากพรรณไม้ในป่าเขาพลวงและบริเวณวิทยาลัยชัย บาดาลพิพัฒน์ จังหวัดลพบุรี กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร. รายงานโครงการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

บุญฑวรรณ วิงวอน. (2557) ศักยภาพและรูปแบบผู้นําในการเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนแบบองค์รวมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนตําบลปงยางคกอําเภอห้างฉัตรจังหวัดลําปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ. 7 (1), 8-26.

ประจักษ์ บุญอารีย์. (2544). การใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อการศึกษา. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

ประภากร สุคนธมณี. (2562). สีสันจากในสวน. สาขาวิชาศิลปะสิ่งทอ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชราภรณ์ พิมพ์จันทร์. (2562). การเพิ่มการติดสีและ ความคงทนของสีย้อมธรรมชาติสำ หรับเส้นใยจากกก. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2560). วิจัยเพื่อท้องถิ่น: บทบาทมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 35 (3), 137-156.

พันธ์ยศ วรเชฐวราวัตร์ และพรโพยม วรเชฐวราวัตร์. (2561). ศึกษาวิธีย้อมสีและสารช่วยย้อมที่เหมาะสมต่อการย้อมไหมด้วยสีจากลูกจาก. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 7. พะเยา มหาวิทยาลัยพะเยา. (1424-1437).

พรเพ็ญ โชชัย, ระมัด โชชัย และเมทินี ทวีผล. (2551). การพัฒนาการย้อมสีเส้นด้ายฝ้ายจากสีย้อมธรรมชาติ: กรณีศึกษาการย้อมสีเส้นด้านฝ้ายจากสีย้อมเปลือกมะพร้าวและเปลือกประดู่ของชุมชนในเขตตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง วารสารการวิจัย. 14 (2) 26-45.

ภัทรานิฎชณ์ พิมพ์ประพร. (2558). การศึกษาอิทธิพลของสารช่วยติดสีต่อเฉดสีของสีย้อมธรรมชาติสกัดจากใบหมี่บนเส้นใยไหมย้อมด้วยกระบวนการย้อมแบบดูดซึม. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาสิ่งทอ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนัสนิตย์ จงปัญญานนท์. (2560). การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายการศึกษายมเหนือ อําเภอสอง จังหวัดแพร่ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.

วราพร บุญมี. (2564). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7 (9), 373-385.

สุพะไชย์ จินดาวุฒิกุล. (2562). การย้อมสีเส้นกกด้วยสีธรรมชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ. 68 (209), 21-23.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553) การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการ และบทเรียน.บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง. จำกัด.