การใช้เทคนิคการเข้ารหัสทางดนตรีเพื่อกำหนดมิติด้านระดับเสียงและลักษณะจังหวะ ในบทประพันธ์เพลงคลาสสิกและคลาสสิกร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเข้ารหัสลับและดนตรีถูกนำมาผนวกเข้าด้วยกันตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 17 การเข้ารหัสทางดนตรี คือการนำวิทยาการเข้ารหัสลับมาประยุกต์เข้ากับการบันทึกโน้ตดนตรี โดยการแทนที่ตัวอักษรด้วยตัวโน้ตดนตรี และนำชุดตัวโน้ตนั้นมาสร้างเป็นทำนองเพลงที่จะใช้ในการประพันธ์ ทำให้ข้อความลับที่เข้ารหัสจะถูกเก็บซ่อนอยู่ในรูปแบบโน้ตเพลงของบทประพันธ์เพลงนั้น ในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมา รูปแบบการใช้งาน และแนวทางการเข้ารหัสทางดนตรีในบทประพันธ์เพลงคลาสสิกและคลาสสิกร่วมสมัย หลังจากการศึกษาจึงสามารถสรุปได้ว่า การเข้ารหัสทางดนตรีเพื่อกำหนดมิติด้านระดับเสียงและลักษณะจังหวะในบทประพันธ์เพลงสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มหลัก คือ 1. การเข้ารหัสทางดนตรีด้วยการกำหนดชุดระดับเสียงจากตัวอักษร 2. การเข้ารหัสทางดนตรีด้วยการกำหนดลักษณะจังหวะจากการประยุกต์ใช้รหัสมอร์ส 3. การเข้ารหัสดนตรีด้วยการกำหนดทั้งชุดระดับเสียงจากตัวอักษรและลักษณะจังหวะจากการประยุกต์ใช้รหัสมอร์ส การเข้ารหัสทางดนตรีถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการประพันธ์เพลงที่นักประพันธ์ยังคงนำมาใช้ และยังมีแนวโน้มในการพัฒนาต่อยอดแนวทางการเข้ารหัสทางดนตรีในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมิติการกำหนดที่แปลกใหม่และความน่าสนใจให้กับการประพันธ์เพลงมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
เจษฏา ตัณฑนุช. (2551). คณิตศาสตร์ในโทรคมนาคม : จากอดีตจนถึงปัจจุบัน. วารสาร กทช. 1905-5870, 317-339.
Boulez, P. (1977). Messagesquisse pour 7 violoncelles. London Universal Edition.
Bücking, J. J. H. (1957). Anweisung zur geheimen correspondenz systematisch entworfen, von J. B. Online. Retried September 19, 2022. From https://books.google.co.th/books?id =t7phAAAAcAAJ&printsec=frontcover&hl=es&source=gbs_atb&redir
Cogswell, E. B. (2021). Méditations sur le mystère de la Sainte Trinité — Messiaen’s cosmic musikdrama. Doctoral dissertation. Collage : Indiana University.
Davies, H. N. (1967). The History of a Cipher, 1602-1772. Oxford journal, 48 (4), 325-329.
Glazunov, A. (1887). Suite on the name 'Sascha', op.2. M.P. Belaieff.
Hinson, M., and Roberts, W. (2014). Guide to the pianist's repertoire. Online. Retried September 19, 2022. From https://books.google.co.th/booksid= kQDXAQAAQBAJ &pg=PA423&lpg=PA423&dq=Suite+on+the+theme+of+the+Russ
Hung, J. L. (2012). An investigation of the influence of fixed-do and movable-do solfège systems on sight-singing pitch accuracy for various levels of diatonic and chromatic complexity. Doctoral dissertation. Collage : The University of San Francisco.
Messiaen, O. (1973). Méditations sur le mystère de la Sainte Trinité pour orgue. Alphonse Leduc.
Naser, S. E.(2021). Cryptography: From the ancient history to now, It’s applications and a new complete numerical model.International journal of mathematics and statistics studies, 9 (3), 11-30.
O'Brien, K. M. (2022). O'Brien-On Olivier Messiaen and the trinity Online. Retried September 19, 2022. From https://www.academia.edu/82329101/
Poulenc, F. (1929). Pièce brève sur le nom d'Albert Roussel. Alphonse Leduc.
Ravel, M. (1910). Menuet sur le nom d'Haydn. Durand & Cie.
Smirnov, D. N. (2006). Bagatelles ciphers, Op.143. Online. Retried September 19, 2022. From https://www.scoreexchange.com/scores/38133.html
Thicknesse, P. (1772). A treatise on the art of decyphering, and of writing in cyphers, with an harmonic alphabet, by P. Thicknesse. Online. Retried September 19, 2022. From https://books.google.co.th/booksid=OacwAAAAMAAJ&printsec=frontcover&source=gbs_ge_summary_r&cad=0#v=twopage&q&f
Wilkins, J. (1694). Mercury; or, The secret and swift messenger: shewing, how a man may with privacy and speed communicate his thoughts to a friend at any distance. Online. Retried September 19, 2022. From https://books.google.co.th/books?