การพัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

บุญชัย อารีเอื้อ
พรสิน สุภวาลย์
อภิชาติ ลือสมัย
กฤษณะ โสขุมา
ภัทรพร ตัสโต
เมธัช เชื้อแดง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) เผยแพร่รูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในอำเภอชัยบาดาล  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความพึงพอใจของครูที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนารูปแบบฯ คู่มือครู เอกสารประกอบการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และ Paired t-test
           ผลการวิจัย พบว่า
          1) สภาพการจัดการเรียนการสอนด้านที่มีคะแนนการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ด้านนักเรียนอยู่ในระดับน้อย  และปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ ด้านนักเรียน ในภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก  2) รูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้เป็นรูปแบบที่มีจำนวน 20 แผน เรื่องร้อยละและอัตราส่วน โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่เน้นโจทย์สถานการณ์ในท้องถิ่นเพื่อให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์กับการใช้ชีวิตประจำวันได้ และมีขั้นตอนการแก้ปัญหา 6 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 การทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 การวางแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การดำเนินการแผน ขั้นที่ 5 การตรวจสอบและนําเสนอผลการแก้ปัญหา ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้ความรู้ 3) ผลของการใช้รูปแบบฯ พบว่าเมื่อนำรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างพบว่า คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) = 0.665 และ 4) การเผยแพร่รูปแบบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบฯ ผู้วิจัยได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์มากขึ้นแล้วจึงจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับครูคณิตศาสตร์ โดยผู้เข้าร่วมเสวนามีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา วรพิน, วิชัย เสวกงาม, และอัมพร ม้าคนอง. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการตั้งปัญหาและการคิดแบบฮิวริสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์. 47 (1), 1-20.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นภาพร สว่างอารมณ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.

สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยา แม้นพยัคฆ์. (2565). การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนบ้านยางโทน.

เอกสารถ่ายสำเนา ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2.

พาวา พงษ์พันธ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการจดัการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่องโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วนัชพร ชมชื่นใจ, สมวงษ์ แปลงประสพโชค และ กฤษณะ โสขุมา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16 (2), 102 - 108.

วรางคณา สำอางค์, พรชัย ทองเจือ, และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11 (1), 52-61.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรากขวัญจำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:บริษัทรากขวัญจำกัด.

อังคณา กรีณะรา. (2563). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น และใช้

กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแกลง

“วิทยสถาวร”. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา. คณะวิทยาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อารยา ช่ออัญชัญ. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.

ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Donald Clark. (2003). Instructional System Design-Analysis Phase. Online. Retrieved June 21, 2022. From : http://www.nwlink.com/donclark/hrd.

Polya, George. (1957). How To Solve it A New Aspect of Mathematical Method. Garden City,

New York : Doubleday and Company.