การจัดการความสุขและระดับความสุขในเวชศาสตร์วิถีชีวิตของผู้สูงอายุ ในตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความสุขและความแตกต่างของระดับความสุขในเวชศาสตร์วิถีชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 100 คน รวมทั้งหมด 200 คน คือ กลุ่มที่มีวิถีชีวิตชนบทและกลุ่มที่มีวิถีชีวิตกึ่งเมือง โดยการใช้แบบสอบถามในการสัมภาษณ์ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและ Independent-Samples T-Test
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสุขของผู้สูงอายุทั้งหมด อยู่ในเกณฑ์เท่ากับคนทั่วไป มีค่าเฉลี่ย 32.36 โดยที่ไม่พบความแตกต่างของข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อทำการเปรียบเทียบระดับความสุขของผู้สูงอายุในแต่ละกลุ่ม พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มวิถีชีวิตชนบท มีค่าเฉลี่ยของความสุขอยู่ในเกณฑ์มากกว่าคนทั่วไปที่ 33.83 และผู้สูงอายุกลุ่มที่มีวิถีชีวิตกึ่งเมือง มีค่าเฉลี่ยของความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับคนทั่วไปที่ 30.89 ซึ่งพบว่าระดับความสุขของผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่มนี้มีความอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P < 0.001 และความพึงพอใจในชีวิตที่ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขในแต่ละกลุ่ม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (P < 0.05) โดยผู้สูงอายุกลุ่มวิถีชีวิตชนบทจะมีความสุขเมื่อได้ใช้ชีวิตหรือได้รับการเอาใจใส่จากคนรอบข้างและการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่วนผู้สูงอายุกลุ่มวิถีชีวิตกึ่งเมืองจะมีความสุขเมื่อตนเองรู้สึกปลอดภัย
Article Details
References
Mongkol, A., Huttapanom, W., Chetchotisakd, P., Chalookul, W., Punyoyai, L., & Suvanashiep, S. (2001). Happiness and mental health in the context of the Thai society. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 46 (3), 227-232.
Sumngern, C., Azeredo, Z., Subgranon, R., Sungvorawongphana, N. , & Matos, E. (2010). Happiness among the elderly in communities: A study in senior clubs of Chonburi Province, Thailand. Japan Journal of Nursing Science. 7 (1), 47–54.
Tuntichaivanit, C., Nanthamongkolchai, S., Munsawaengsub, C., & charupoonphol, P. (2009). Life Happiness of the Elderly in Rayong Province. Journal of Public Health. 39 (1), 34-47.
Veenhoven, R. (2006). How do we assess how happy we are? Tenets, implications and tenability of three theories. paper presented at conference on ‘New directions in the study of happiness: United States and International Perspectives’, University of Notre Dame, USA,
Veenhoven, R. (2012). Average happiness in 149 nations 2000–2009: How much people enjoy their life-as-a-whole on scale 0 to 10. World database of happiness. Erasmus University Rotterdam,Netherlands.http://worlddatabaseofhappiness.ur.nl/hap_nat/findingreports/RankReport_AverageHappiness.php.
Yiengprugsawan V., Somboonsook, B., Seubsman, S., & Sleigh, A. (2012). Happiness, mental health, and socio-demographic associations among a national cohort of Thai adults. Journal of Happiness Studies. 13, 1019–1029.