การพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานในอำเภอพระนครศรีอยุธยา 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แบบถดถอยโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ 15 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสนทนากลุ่มเพื่อสร้างแนวทางการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน ได้แก่ 1) โรคทางพันธุกรรม 2) การควบคุมน้ำหนัก 3) การสูบบุหรี่ 4) การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 5) การดื่มน้ำไม่เพียงพอ 6) ประวัติการเป็นโรคความดันโลหิตสูง 7) การใช้ยากลุ่ม NSAIDs 8) การใช้ยาสมุนไพร 9) การกลั้นปัสสาวะ และ 10) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่อการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถอธิบายโอกาสการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานได้ ร้อยละ 68.20 แนวทางการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานคือ การสร้างความรู้ ความตระหนักให้ผู้ป่วยเบาหวาน ญาติผู้ป่วย การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อความลดเสี่ยง การจัดการโรคไตเรื้อรังโดยชุมชน และการพัฒนาคุณภาพสถานบริการสาธารณสุขในการป้องกันการเกิดภาวะไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
Article Details
References
ณิชกานต์ วงษ์ประกอบ, และลัฆวี ปิยะบัณฑิกุล. (2560). ปจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ปวยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 23 (2), 94-106.
ทวี ศิลารักษ์, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล, และวิริณธิ์ กิตติพิชัย. (2563). ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 40 (2), 109-121.
ปกครอง แสงโคตร. (2554). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ. (2559). สถานการณ์ปัจจุบันของโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www. dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/ content/org/ webpageJDMS_30/ demo/data/2558/2558-05/no.5_01.pdf.
พงศธร คชเสนี, ธนันดา ตระการวนิช, และเกรียงศักดิ์ วารีแสงทิพย์. (2557). Nephrology board review 2014. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น.
รัศมี บัณณสิทธิ์รัตน์. (2552). ภาวะวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยทางจิตสังคมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็น มีเดีย จำกัด.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2559). คู่มือปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานลดโรคไตเรื้อรัง (CKD) ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง. กรุงเทพมหานคร: องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Coresh, J., Selvin E., Stevens, L. A., Manzi, J., Kusek, J. W., Eggers, P., ..., Levey, A. S. (2007). Prevalence of chronic kidney disease in the United States. JAMA; 298 : 2038-2047.
Ingsathit, A., Thakkinstian, A., Chaiprasert, A., Sangthawan, P., Gojaseni, P., Kiattisunthorn, K., …, the Thai-Seek Grop. (2010). Prevalence and risk factors of chronic kidney disease in the Thai adult population: Thai SEEK study. Nephrology Dialysis Transplantation. 25 (5), 1567-1575.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.