อิทธิพลของการควบคุมภายในที่ดีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ปทุมพร หิรัญสาลี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการควบคุมภายในที่ดีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 343 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการควบคุมภายในที่ดี อันได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าการควบคุมภายในที่ดีช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านสารสนเทศและการสื่อสารมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานมากที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารงานในองค์กรควรให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายใน โดยเน้นด้านสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริหารรับทราบถึงจุดบกพร่องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันได้ทันท่วงที เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการควบคุมภายในที่ดีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 343 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าการควบคุมภายในที่ดี อันได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุม ด้านการประเมินความเสี่ยง ด้านกิจกรรมการควบคุม ด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการติดตามและประเมินผล มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าการควบคุมภายในที่ดีช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านสารสนเทศและการสื่อสารมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานมากที่สุด ดังนั้น ผู้บริหารงานในองค์กรควรให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายใน โดยเน้นด้านสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้ผู้บริหารรับทราบถึงจุดบกพร่องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันได้ทันท่วงที เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

จารุณี วงศ์ลิมปิยะรัตน์ และ ประวิทย์ เขมะสุนันท์. (2559). ความท้าทายของคุณภาพการควบคุมภายใน และรายงานทางการเงิน. วารสารพัฒนาสังคม. 18 (1), 143-159.

ณัฐนันท์ อุบลครุฑ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมทางการบัญชีกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของ ธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ. 13 (1), 138-150.

ธนชาติ เราประเสริฐ. (2565). แรงผลักดันในการทุจริตของพนักงานในองค์กร กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมบริการโลจิสติกส์ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16 (1), 45-55.

นงลักษณ์ ผุดเผือก และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ของการควบคุมภายในที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจที่พักแรมในจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 14 (3), 214-231.

นพดล ปกรณ์นิมิตดี. (2564). การนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการพัฒนากฎหมายบริษัทจำกัดในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต. คณะนิติศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ และคณะ. (2561). ปัญหาการทุจริตกับแนวคิดระบบการควบคุมภายใน. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 5 (2), 46-55.

ปิยารมย์ ปิยะไทยเสรี. (2563). การควบคุมภายในเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นบริษัทจดทะเบียน. กรุงเทพมหานคร : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ปุณยนุช ภู่ระหงษ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการควบคุมภายในกับการบรรลุเป้าหมาย ขององค์กรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 12 (1), 162-177.

ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์. (2564). ผลกระทบของการควบคุมภายในที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ในจังหวัดระยอง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 16 (1), 52-59.

รัชนี เล่าโรจนถาวร และคณะ. (2564). ระบบการควบคุมภายในส่งผลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์. 3 (3), 13-24.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565). การบริหารความเสี่ยงขององค์กร การประยุกต์ใช้การบริหารความเสี่ยงขององค์กรกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) .กรุงเทพมหานคร: บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.

สาวิตรี พรหมรัก และ ดารณี เอื้อชนะจิต (2564). อิทธิพลของกระบวนการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 27 (4), 155-169.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. กรุงเทพมหานคร.

ศรัณย์ ชูเกียรติ และคณะ. (2563). ประเด็นสำคัญของการบริหารความเสี่ยงขององค์กร: การบูรณาการร่วมกับกลยุทธ์และผลการปฏิบัติงาน. วารสารวิชาชีพบัญชี. 16 (49), 60-71.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Adesunkanmi, O. S., & Oluwasola, A. F. (2022). Moderating Effect of Internal Control Activities on Risk Assessment and Performance of Insurance Companies in Nigeria. Gusau International Journal of Management and Social Sciences. 5 (1), 1-18.

Alqaraleh, M. H., Almari, M. O. S., Ali, B. J., & Oudat, M. S. (2022). The Mediating Role of Organizational Culture on the Relationship Between Information Technology and Internal Audit Effectiveness. Corporate Governance and Organizational Behavior Review. 6 (1), 8-18.

Djasuli, M., Triyuwono, I., Purwanti, L., & Roekhudin, R. (2022). Committee of Sponsoring Organization of the Treadway Commission (COSO) Framework as a Control Framework Construction Internal Sharia Based. Budapest International Research and Critics Institute (BIRCI-Journal): Humanities and Social Sciences. 5 (1). 6603-6610.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2018). Multivariate Data Analysis (8th ed.) . London, UK: Cengage Learning EMEA.

Hanoon, R. N., Khalid, A. A., Hanani, N., Rapani, A., Aljajawy, T. M., & Alwaeli, A. J. (2021). The impact of internal control components on the financial performance, in the Iraqi banking sector. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 27 (3), 2517-2529.

Hassan, M., Nassar, R., & Whitherspoon, A. (2019). Impact of internal control over financial reporting under the Sarbanes-oxley act on a firm’s stock price and stock volatility. International Journal of Business, Accounting, & Finance, 13 (1). 1-13.

Hazzaa, O. T., Abdullah, D. F., & Dhahebi, A. M. (2022). Review on the role of corporate governance and internal control system on firms’ financial performance. Asian Journal of Accounting Perspectives, 15 (1), 1-28.

Kasztelnik, K., & Gaines, V. W. (2019). Correlational Study: Internal Auditing and Management Control Environment Innovation within Public Sector in the United States. Financial Markets, Institutions and Risks, 3 (4), 5-15.

Kumari, K. A. H. M., & Weerasooriya, W. M. R. B. (2019). Impact of effective internal control implementation on private commercial bank’s financial performance; special reference to central province of Sri Lanka. International Journal of Scientific and Research Publications (IJSRP), 9 (12), 405-416.

Pakurár, M., Haddad, H., Nagy, J., Popp, J., & Oláh, J. (2019). The impact of supply chain integration and internal control on financial performance in the Jordanian banking sector. Sustainability, 11 (5), 1-20.

Sánchez-Aguayo, M., Urquiza-Aguiar, L., & Estrada-Jiménez, J. (2022). Predictive Fraud Analysis Applying the Fraud Triangle Theory through Data Mining Techniques. Applied Sciences, 12 (7), 1-25.