การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นารีมะห์ วาโด
ฮามีด๊ะ มูสอ
ณัฐวิทย์ พจนตันติ

บทคัดย่อ

          วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถือว่าเครื่องมือสำคัญที่ใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาของสังคมและประเทศชาติในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ และ 3) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. เครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ แบบประเมินเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. สาระการเรียนรู้ 4. กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5. สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 6. การวัดและประเมินผล โดยมีผลการประเมินตามมาตรฐาน The Joint Committee on Standards of Educational Evaluation ใน 4 มาตรฐาน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ดีมาก 2) ความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสรุปผลได้ว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้สูงขึ้นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐกานต์ เบญจพลาภรณ์. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็น เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2562). การพัฒนาหลักสูตรสะเต็มศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ทรรศนีย์ บุญตันบุตร. (2562). การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการทำโครงงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง วัสดุและสมบัติของวัสดุ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นูรเอ็ฮซาน บอตอ. (2565). รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาที่บูรณาการอิสลามของครูแกนนำสะเต็มศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 33(2), 203-223.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปราณี พงษ์สุพรรณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และความคิดผลิตภาพสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(1), 219-239.

ปาลิตา สุขสำราญ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมจิตวิทยาศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พัทธดนย์ อุดมสันติ. (2560). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พินดา วราสุนันท์. (2554). บทความวิจารณ์หนังสือเรื่อง “The Program Evaluation Standards (3rd Edition) ปี ค.ศ. 2010”. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 24(2): 273-278.

รักษ์ศิริ วิจิตร, วิจิตร อุดอ้าย, และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM Education เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 202-213.

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งชาติศตวรรษที่ 21. บอสส์การพิมพ์.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

. (2557). ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 นักเรียนไทยวัน 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. FOCUS ประเด็นจาก PISA. https://drive.google.com/file/d/

D7IXCaYuXTMsznkD1O9-YeFfeSL-7zXU/view.

สยาม อรุณศรีมรกตและยงยุทธ วัชรดุล. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7.

สังวร งัดกระโทก และอนุสรณ์ เกิดศรี. (2561). การประเมินวินิจฉัยการรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยโมเดล G-DINA. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(4), 37-53.

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม. (2560). บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่า

การกระทรวงอุตสาหกรรม เผยโรคแม็พอุตสาหกรรม 4.0 คืบหน้า...พัฒนาทุกมิติ. วารสารอุตสาหกรรม. ฉบับเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2560. ซี แอด โปรโมชั่น (1997) จำกัด.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุธิดา การีมี. (2561). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา. นิตยาสาร สสวท., 46(210), 44-49.

Anderson, T.P. (1997). Using models of instruction. In C.R. Dills, & A.J. Romiszowski (Eds). Instructional development paradigms. Englewood Cliffs, Educational Technology.

Arends, R.I. (1997). Classroom instruction and management. McGraw Hill.

Gullickson, A.R., & Howard, B.B. (2009). The Personnel Evaluation Standards: How to assess systems for evaluating educators (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Joyce, B., & Weil, M. (2000). Model of teaching (6th ed.) Prentice Hall.

Margan, J. R., Moon, A. M., & Barroso, L. R. (2013). Engineering better projects. In R. M. capraro, M.M. Capraro & J. R. Morgan (Eds.), STEM project-based learning an integrated science, technology, engineering and mathematics (STEM) approach. Sense Publishers, AW. (pp. 29-39).

Papert, S. (1993). Mindstorms: Children, Computers, and Powerful Ideas. Basic Books.

Reeve, E. M. (2015). Science, technology, engineering & mathematics (STEM) education is here to say. http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/08/STEM-Education-is-here-to-stay.pdf.

Papert, S. (1993). Mindstorms: Children, Computers, and Powerful Ideas. Basic Books.

Vygotsky. (1989). Concrete Human Psychology. Soviet Psychology, 27(2), 53-77.