การศึกษาอัตลักษณ์การจัดการการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชน ในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และ 3)  ศึกษาอัตลักษณ์การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี งานวิจัยฉบับนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคูณภาพ โดยศึกษาจากเอกสาร  สอบถามจากผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ และการปฏิบัติการเชิงพื้นที่  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) สภาพปัจจุบันของการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า สภาพปัจจุบันการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการตามลักษณะทางวัฒนธรรม 5  ด้านคือ 1. ศิลปะการแสดง/จิตรกรรม 2. อาหาร 3. ผ้าและการแต่งกาย  4. โบราณสถาน/ศาสนสถาน และ5. ขนบธรรมเนียม
          2) การมีส่วนร่วมในจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า  อำเภอเขมราฐโดยการร่วมมือของประชาชนเจ้าของพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชน และมหาวิทยาลัยรังสิต ได้ร่วมกันจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นในอำเภอเขมราฐ จากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนในชุมชนอำเภอเขมราฐ กำหนดเป็นรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเขมราฐ  ภายใต้การมีส่วนร่วมจัดการพื้นที่ท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรมเมืองปลายแดนเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
          3) อัตลักษณ์การจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบบูรณาการของชุมชนในของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า อัตลักษณ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นไปตามคำขวัญที่ว่า ต้นตำหรับรำตังหวาย ถิ่นไทยนักปราชญ์ ทวยราษฎร์น้ำใจงาม สุดเขตแดนสยาม มะขามหวานหลายหลาก กล้วยตากรสดี ประเพณีแห่เทียนพรรษา แข่งนาวาสองฝั่งโขง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12 (28), 114-116.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กิจอุดม เสือเจริญ. (2564). แนวทางการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดน่าน. วารสารการเมือง

การบริหารและกฎหมาย. 11 (3), 224-230.

ขนิษฐา นภาเพชร. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของบ้านเปือยหัวดง ตำบลเปือย อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต--สาขานวัตกรรมการท่องเที่ยวคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นฤดล สวัสดิ์ศรี. (2562). ศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดมหาสารคามเพื่อไปสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์. บริหารธุรกิจเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นุชศรา เฉยบำรุง (2560). แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิม. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

วัชรินทร์ ผุดผ่อง. (2557). 200 ปี เขมราษฎร์ธานี. อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี.

ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์. (2563). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์ : บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน).

หทัยรัตน์ วัฒนพฤกษ์และคณะ. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวประมงพื้นบ้านเพื่อสนับสนุนเมืองเก่าสงขลาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ปริทัศน์. 8 (1), 32-41.

อัมพร ค้ามี. (2564). ทุนทางสังคมและประชาสังคมในไทย. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาการพิมพ์.