วิเคราะห์เปรตในติโรกุฑฑสูตร

Main Article Content

พระครูนิมิตสาธุวัฒน์
พระครูพิศาลสารบัณฑิต
สมเดช นามเกตุ
พระมหาณัฐพันธ์ สุทสฺสนวิภาณี

บทคัดย่อ

            บทความนี้เป็นการศึกษาความสำคัญของติโรกุฑฑสูตร พบว่า เปรต หมายเอาสัตว์ที่อยู่ในทุคติภูมิ ที่มีรูปร่างวิกลวิการ อาศัยปะปนอยู่กับภพมนุษย์ แต่เป็นภพที่ละเอียดกว่า ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็น แต่ไม่ได้หมายความว่าเปรตนั้นไม่มี สมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสยืนยันเรื่องเปรตนี้ว่ามีจริงและทรงรู้ถึงการกระทำที่จะนำไปเป็นเปรต ดังมีกล่าวไว้ใน ติโรกุฑฑสูตร เรื่องของปรตที่เคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองแคว้นมคธ ที่พากันมาอาศัยอยู่ตามฝาเรือนเพื่อรับส่วนกุศลจากพระเจ้าพิมพิสาร เรื่องเปรตนี้ นอกจากสมเด็จพระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงรู้ชัดแจ้งแล้ว ยังมีเหล่าสาวกอีกจำนวนมากที่รู้ชัดแจ้ง เช่น  พระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก หลายครั้งที่ท่านออกบิณฑบาตกับสหธรรมิกบ้าง เหล่าศิษย์บ้าง ท่านจะพบกับเปรตที่มีลักษณะต่าง ๆ เป็นต้น
          ผลการวิเคราะห์เปรตในติโรกุฑฑสูตร พบว่า เปรต คือ ผู้จากโลกนี้ไปหรือผู้ตายแล้ว ยังไม่ได้ไปเกิดในภพภูมิใดเพราะยังต้องใช้กรรมที่ได้กระทำไว้ในขณะที่เป็นมนุษย์ กรรมที่ทำให้เกิดใน ขณะนั้นอาจมีเจตนาหรือความจงใจ หรือกรรมที่ไม่มีเจตนา ซึ่งเป็นกรรมที่กระทำด้วยความปราศจากเจตนา แต่เรียกว่า กิริยา คือเป็นเพียงสักแต่ว่ากระทำ กรรมเหล่านี้สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นเปรตได้เพราะกรรมนั้นเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นโดยความประมาท กรรมเหล่านี้ก็สามารถทำไปเกิดเป็นเปรตก็ได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระมหาสุพจน์ คำน้อย. (2547). การศึกษาวิเคราะห์คำสอนเรื่อง การอุทิศส่วนบุญในพระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฟื้น ดอกบัว. (2543). สังสารวัฎฎ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บูรพาสาส์น

ปัญญา ใช้บางยาง. (2548). หลักธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย