การออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

นิอร ดาวเจริญพร
รุ่งฤทัย รำพึงจิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย 2) พัฒนาออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ต.เขาแก้วศรีสมบูรณ์ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย 3) ศึกษาความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย โดยดำเนินการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมซึ่งวิธีดำเนินการเริ่มด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการ สังเคราะห์แนวคิดในการพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณในการสำรวจความพึงพอใจที่มีต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน ใช้การสุ่มแบบบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา ปัญหาและความต้องการตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ พบว่า  ลักษณะตราสินค้าขาดความโดดเด่น สี อักษรที่ใช้ขาดความทันสมัยความชัดเจนที่จะสื่อถึงอัตลักษณของชุมชนและจดจำได้ยาก บรรจุภัณฑ์ไม่ดึงดูดความน่าสนใจ ไม่ทันสมัยและไม่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์ได้ มีความต้องการในการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ให้ข้อมูลที่สามารถบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชุมชน มีความร่วมสมัยและความคิดสร้างสรรค์ สร้างการจดจำและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้ ผลการพัฒนาออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ พบว่า จากการศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนทุ่งเสลี่ยมและจังหวัดสุโขทัย ประกอบด้วย สัญลักษณ์ของชุมชน ลวดลายผ้าทอ และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาทำการออกแบบลวดลายกราฟิกบนตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ให้มีความร่วมสมัย รูปแบบเรียบง่ายสร้างการจดจำ ผลการศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายมีต่อตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ พบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อตราสินค้า อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 และความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ  4.17

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา สุรเดชา. (2563). การออกแบบตราสินค้าและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน. วารสารพิกุล. 18 (1), 219-237.

จิราพร มหาอินทร์ และคณะ. (2554). การดําเนินงานและการส่งเสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน:กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดปทุมธานี. คณะบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท และก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา. (2542). การบรรจุภัณฑ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : วังอักษร.

ปฐมาพร เนตินันท์ (2554). การสังเคราะห์กระบวนการและกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า. วารสารนักบริหาร. 31(2), 36-50.

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย.

พรรษร มาดี. (2563, มิถุนายน 17). สัมภาษณ์. ประธานกลุ่ม. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเย็บผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย.

วิภาวดี พรมพุทธา และขาม จาตุรงคกุล. (2565). โครงการออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าและพัฒนผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย โดยได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้เมืองเลย กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายชุมชนบ้าน

กกบก อ.วังสะพุง จ.เลย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23. 25 มีนาคม 2565. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศศิรดา พันธ์วิเศษศักดิ์ และคณะ. การออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ กลุ่มชุมชนโคกสูงตะวันออก ตำบลบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 22 (1), 87-107.

สุมิตรา ศรีวิบูลย์. (2554). ออกแบบ ออกแบรนด์. กรุงเทพมหานคร: อีเล็ฟแว่นคัดเลอร์ส.

สิรินทิพย์ สุขกล่ำ. (2558). การสร้างตราสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่นไทย : กรณีศึกษา ตราสินค้า PATINYA.

วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรช กระแสอินทร์ และคณะ. (2564). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์เมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต. วารสารปาริชาต. 34 (3), 37-53.

อัรฮาจี เจ๊ะสะแม และยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปรุณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 15 (2), 79-90.