การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

อลงกรณ์ อัศวโสวรรณ
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล
อรอุมา เจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู และศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 650 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม (2) การอยู่ร่วมกันบนโลกดิจิทัลได้อย่างมีความสุข และ (3) การปกป้องตนเองและผู้อื่นจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้โมเดลการวัดความเป็นพลเมืองดิจิทัลสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกข้อ (Chi-Square = 39.12, df = 27, p = .061, GFI = .989, AGFI = .974, RMSEA = .026) 2) นักศึกษาวิชาชีพครูโดยภาพรวมมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลอยู่ในระดับมาก (M = 4.245, SD = .581)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). รายงานประจำปี 2562 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

จีระพรรณ สุศิริภัทรพงศ์, ชรินทร์ มั่งคั่ง และจารุณี ทิพยมณฑล. (2563). ทักษะพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (4), 206-219.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2563). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สุทธิพร แท่นทอง. (2564). การสอนสังคมศึกษากับการพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 9 (1), 13-24.

สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ และประกอบ คุณารักษ์. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (15) 2, 15-28.

สุวรรณี ไวท์, สุวัฒสัน รักขันโท และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2563). มนุษย์กับความเป็นพลเมืองดิจิทัล. วารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7 (2), 339-355.

สุวิมล ติรกานันท์. (2555). การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2562). การวิจัยทางการศึกษา : แนวคิดและการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ausawasowan, A., et al. (2021). Responsible Digital Citizenship: Safe and Respectful Online Community Life. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6 (7), 376-384.

Choi, M. (2016). A Concept Analysis of Digital Citizenship for Democratic Citizenship Education in the Internet Age. Theory & Research in Social Education, 44(4), 565-607.

Choi, M., Cristol, D., & Gimbert, B. (2018). Teachers as digital citizens: The influence of individual backgrounds, internet use and psychological characteristics on teachers’ levels of digital citizenship. Computers & Education, 121, 143–161.