การศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี กับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาที่มีนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี สาขาวิชาการประถมศึกษา ฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษานั้นจำนวน 11 โรงเรียน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ซึ่งผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 11 คน 2) ครูพี่เลี้ยงนักศึกษา จำนวน 46 คน ประกอบด้วยครูพี่เลี้ยงนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี จำนวน 21 คน และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี จำนวน 25 คน 3) อาจารย์นิเทศก์ประจำสาขาวิชาเอกการประถมศึกษา จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู
ผลงานวิจัยพบว่า 1) ทั้ง 2 หลักสูตร มีสมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทั้ง 2 หลักสูตร มีสมรรถนะการปฏิบัติการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ ด้านการประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาผู้เรียน และด้านวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านจัดการเรียนรู้รูปแบบบูรณาการ สมรรถนะอยู่ในระดับมาก 2) สมรรถนะการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 5 ปี ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตรและสาขาศึกษาศาสตร (หลักสูตรสี่ป) พ.ศ.2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565 แหล่งที่มา: https://www.ops. go.th/th/data-store/archive-documents/100-other-doc/5632-1.
คณะครุศาสตร์. (2559). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา 5 ปี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555). สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
คณะครุศาสตร์. (2562). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562). สาขาวิชาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ชนิดา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพานาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์. 45 (3), 17-33.
ไทยรัฐ. (2561). เปิดแนวคิดปรับหลักสูตรผลิตครูทางเลือกใหม่สนองโลกในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2565 แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/1405760.
ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์. (2553). การเปรียบเทียบหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 4 ปี และ 5 ปี : การศึกษาวิจัย
แบบพหุวิธี. วารสารศึกษาศาสตร์, 21(3), 41-56.
สมศักดิ์ บุญขำ, ปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง และปกรณ์ ประจัญบาน. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 8 (2), 43-57.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรณที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 8 (1), 1-17.
Chailom, S (2019). Five-year curriculum of teacher education in Thailand; Gain or Pain?. The ICBTS2019 International Academic Research Conference in London, 215-221.