การส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกร ในอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตผักของเกษตร 3) ความรู้การผลิตผักอินทรีย์ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์ และ 5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตผักอินทรีย์
ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกผักในอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว จำนวน 241 ราย ขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อน 0.05 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 151 ราย ใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือเก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ ค่าสถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.52 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 3.01 คน พื้นที่ในการปลูกผักเฉลี่ย 3.28 ไร่ รายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 27,072.85 บาท/ปี มีต้นทุนการปลูกผักเฉลี่ย 10,405.30 บาท/ปี 2) สภาพการปลูกผัก พื้นที่ปลูกเป็นที่ลุ่ม ดินเป็นดินร่วนปนทราย ใช้แหล่งน้ำจากบ่อน้ำตื้นและสระน้ำ รูปแบบการปลูกผักเป็นแบบนอกโรงเรือน และไม่มีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อตรวจวิเคราะห์ 3) เกษตรกรมีความรู้ในการการผลิตผักอินทรีย์ในระดับมาก ประเด็นความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักทั่วไป 4) เกษตรกรมีปัญหาการผลิตผักอินทรีย์ในระดับมาก ในประเด็นด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โรคและแมลง ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ควรมีการให้ความรู้ในเรื่องการปลูกและดูแลรักษาผักอินทรีย์ และ 5) เกษตรกรมีแนวทางการส่งเสริมการปลูก ผักอินทรีย์ในระดับมากที่สุด ในด้านการให้การสนับสนุน ในประเด็นสนับสนุนแหล่งสินเชื่อดอกเบี้ยถูก
Article Details
References
กนกพร นันทดี และคณะ. (2562). ความต้องการรับบริการวิชาการด้านการเกษตรของเกษตรกรในเขต อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร. 1 (3), 49-60.
กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. (2558). คู่มือแนวทางการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ดนุพล สุขปลั่ง และคณะ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences. 5 (3), 1166-1184.
เธียรชัย พันธ์คง และคณะ. (2558). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และประสิทธิภาพการผลิตผักปลอดภัย จากสารพิษในตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7 (13), 63-70.
นราศินี แก้วใหลมา และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร. 33 (3), 387-395
พยงค์ ศรีเจริญ และคณะ. (2562). พฤติกรรมการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกผัก อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. The Journal of Boromarjonani College of Nursing Suphanburi. 2 (2), 75-90.
ภูวนิดา คุนผลิน. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของเกษตรกรสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน การปลูกผักปลอดสาร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (1), 345-356.
มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศุภชัย สุทธิเจริญ และคณะ (2563). การตัดสินใจขอใบรับรองอินทรีย์ของเกษตรกรปลูกผักในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร. 37 (2), 90-100.
อัยรดา พรเจริญ และคณะ. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการความรู้ของชาวประมงริมแม่น้ำมูล เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 12 (4), 633-648