ศึกษาเปรียบเทียบหลักสุจริตตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทย และกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของฟิลิปปินส์

Main Article Content

ทวีศักดิ์ โสมณี

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามาตรการบังคับใช้หลักสุจริตตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทยกรณีความบกพร่องแห่งสิทธิหรือความไม่สมบูรณ์ของตั๋วเงิน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบหลักสุจริตตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทยและกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของฟิลิปปินส์กรณีความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงิน  และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับใช้หลักกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทยกรณีความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินแก่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาแบบเชิงเอกสาร (Documentary) และการสัมภาษณ์ (Interviews) โดยใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริง
          ผลวิจัยพบว่ามีความแตกต่างที่สำคัญของหลักสุจริตในกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทยนั้น คือการที่ผู้รับโอนตั๋วเงินไม่รู้ถึงความบกพร่องแห่งสิทธิหรือความไม่สมบูรณ์ของตั๋วเงิน ก่อนหรือขณะที่ตนได้รับโอนตั๋วเงินนั้น อันถือเป็นหลักสุจริตเฉพาะเรื่อง ส่วนหลักสุจริตในกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของฟิลิปปินส์คือ การไม่ได้รับการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิหรือความไม่สมบูรณ์ของตั๋วเงินอยู่ในขณะที่มีการโอนตั๋วเงิน เนื่องจากกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของฟิลิปปินส์นั้นได้นำหลักการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินมาใช้ โดยกำหนดให้ขณะโอนตั๋วเงิน ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องไม่ได้รับการบอกกล่าวถึงความบกพร่องหรือความไม่สมบูรณ์ของตั๋วเงิน หรือความบกพร่องในสิทธิของคู่สัญญาในตั๋วเงินนั้น และการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิไปยังผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต้องมีการบอกกว่างก่อนตั๋วเงินครบกำหนดให้ใช้เงิน ย่อมแสดงให้เห็นว่า หากผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินฟิลิปปินส์ เพียงแต่ได้รับการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงิน ขณะโอนตั๋วเงิน ถือว่าผู้ทรงโดยชอบโดยกฎหมายนั้นไม่สุจริตและไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายต่อไป ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้ว่าเมื่อผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายได้รับการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธินั้นมีหน้าที่ต้องสืบหาถึงความบกพร่องของสิทธิแต่อย่างใด แสดงว่าไม่เปิดโอกาสให้ผู้ทรงได้สืบหาถึงความบกพร่องแห่งสิทธินั้นว่ามีความบกพร่องแห่งสิทธิจริงตามที่ได้รับการบอกกล่าวมาหรือไม่ เพียงแต่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายได้ทราบถึงความสงสัยในขณะโอนตั๋วเงินว่าน่าจะมีความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินเกิดขึ้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่ามีความบกพร่องแห่งสิทธิเกิดขึ้นจริงตามที่มีการบอกกล่าวหรือไม่ ย่อมถือว่าบุคคลนั้นไม่เป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทย ยังไม่ได้มีการบัญญัติเรื่องการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินแก่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวแต่อย่างใด กฎหมายลักษณะตั๋วเงินของไทยควรนำหลักในการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินแก่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินของฟิลิปปินส์มาปรับใช้ เพราะเป็นหลักการที่ป้องกันไม่ให้ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายปฏิเสธที่จะไม่รับรู้ว่าตั๋วเงินที่ผู้ทรงได้รับมานั้นมีความบกพร่องแห่งสิทธิ เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้ที่จะเป็นผู้ทรงโดยชอบโดยกฎหมายนั้นต้องเป็นผู้ได้รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริตและปราศจากข้อโต้แย้งถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงินโดยหลักในการบอกกล่าวถึงความบกพร่องแห่งสิทธิในตั๋วเงิน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล ตันจินวัฒนกุล. (2558). “หลักสุจริต”, ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558, จาก http://www.ncjad.go.th.

ก้องเกียรติ พิมทอง. (2550). หลักสุจริตทางพาณิชย์. สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ชมชื่น มัณยารมย์. (2558). “บทที่ 4 ที่มาของกฎหมาย”, ค้นคืน 6 ธันวาคม 2558, จากwww.dpu.ac.th/law/upload/files/4.doc

วรนารี สิงโต. (2556) “หลักสุจริต” ในแนวการศึกษาชุดวิชา กฎหมายแพ่งลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด และหลักกฎหมายเปรียบเทียบชั้นสูง, หน่วยที่ 1-5, นนทบุรี : สาขาวิชานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภารวีร์ กษิตินนท์. (2550). การใช้หลักสุจริตในการตีความสัญญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ตรีเนตร สาระพงษ์. (2557). กฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. อุบลราชธานี: พิมพ์ครั้งที่ 7 โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ตรีเนตร สาระพงษ์. (2557). แนวคิดเรื่องหลักสุจริตในตั๋วเงิน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(1). 84-105.

ประสาร ไตรรัตน์วรกุล. (2558). เปรียบแบงก์ชาติเป็นตำแหน่ง “full back” ช่วยประคองเศรษฐกิจท่ามกลางการเมืองป่วน thaipublica กล้าพูดความจริง, ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2558, จาก http://thaipublica.org/2014/04/gdp-2014/

ไพทูรย์ คงสมบูรณ์. (2550). คำอธิบายกฎหมายลักษณะตั๋วเงิน. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนักพิมพ์นิติธรรม

หยุด แสงอุทัย. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 16 สำนักพิมพ์ประกายพรึก

ณัฐพงศ์ โปษกะบุตร. (2558). “หลักสุจริต : หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”, ค้นคืน 8 ตุลาคม 2558, จาก https://www.google.co.th/url?_Dx9_k6D3A.

สุจิต ปัญญาพฤกษ์. (2541). การใชสิทธิโดยสุจริต. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สหธน รัตนไพจิตร. (2556). กฎหมายว่าด้วยตราสารเปลี่ยนมือ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา

เสาวนีย์ อัศวโรจน์. (2554). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตั๋วเงิน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 6 สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อธิราช มณีภาค. (2548). คำอธิบายนิติกรรมและสัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ

อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง.(2548). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตั๋วเงิน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ

Fagan, E T. 1956. “The Concept of Good Faith in Negotiable Instrument Law,” Indiana Law Journal : Vol. 32 : Iss. 1, Article2.

J.F O’Connor. (1991). Good faith in International Law. pp. 8-9

The Negotiable Instruments Law Act No. 2031. (n.d.). What constitutes a holder in due course: A holder in due course is a holder who has taken the instrument under the following conditions.