รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของนวัตกรรมสีเขียวสำหรับธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของนวัตกรรมสีเขียวที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการตลาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของนวัตกรรมสีเขียวที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการตลาดของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เก็บข้อมูลจากธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพและปริมลฑลจำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามที่ทำการทดสอบค่าความสอดคล้องแล้วมีค่าระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล
          สรุปผลการวิจัย 1) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้านตัวแปรแฝงด้านความสามารถเชิงพลวัตสีเขียว ตัวแปรแฝงด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียว ตัวแปรแฝงด้านนวัตกรรมกระบวนการสีเขียว และ ตัวแปรแฝงด้านความสามารถด้านการตลาด มีค่า CFI, NFI, GFI, AGFI และค่า RMR, RMSEA ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด และ 2) การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่าเส้นทางความสัมพันธ์ที่สำคัญสุดคือระหว่างตัวแปรด้านความสามารถเชิงพลวัตสีเขียว มีความสัมพันธ์ทางตรงในทางบวกกับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียวที่ 0.59 ผลการตรวจสอบดัชนีวัดความสอดคล้องพบว่ามีค่าเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square=296.99, df=154, P-value=0.00, RMSEA=0.05)
          ข้อเสนอแนะส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม นำวัสดุจากธรรมชาติ และในท้องถิ่นมาใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและดึงดูดความสนใจแก่ผู้บริโภค ลดการปล่อยของเสีย สารอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตต้องมีทันสมัยและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เปิดช่องทางการตลาดแบบใหม่ ๆ รวมถึงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพิ่มการจ้างงาน ลดต้นทุนการผลิต รวมตลอดถึงการพัฒนาสินค้าให้สามารถเข้ากลุ่มผู้บริโภคทุกกลุ่มอายุ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ภัทรพล ชุ่มมี, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภัทรพล

References

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิวดี บีววัฒน์. (2565). ยกระดับ SMEs ในเอเชียให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/columnist/1006687

ฤดี เสริมชยุต และคณะ. (2565). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตลาดสีเขียวและความสามารถเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการดําเนินงานของกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8 (2), 241- 252.

รัฐบาลไทย. (2665). โมเดลเศรษฐกิจ BCG. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th /news/contents/ministry_details/38369

ชัญญาภัค หล้าแหล่ง และคณะ. (2559). กลยุทธ์นวัตกรรมสีเขียวของธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตของไทยกับการทดสอบ เชิงประจักษ์ของตัวแปรสาเหตุและผลลัพธ์. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 14 (2), 71- 86.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สํานักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เฟื้องฟ้า.

สุชาติ อำนาจวิภาวี และคณะ. (2563). นโยบายของภาครัฐบาลในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดความยั่นยืน. Journal of Administration and Management Innovation. 8 (3), 56-66.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). ความหมายของวิสาหกิจชุมชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.sme.go.th/th/?

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). นวัตกรรมสีเขียว อุตสาหกรรมเป็นมิตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2565.แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/columns/news-225865.

Barreto, I. (2009). Dynamic Capabilities: A Review of Past Research and an Agenda of the Future. Journal of Management. 36 (1), 256-280.

Brown, T. A. (2015). Confirmatory Factor Analysis for Applied Research (2nd ed.). New York, NY: Guilford Publications.

Hancock, G. R., & Mueller, R. O. (2001). Rethinking Construct Reliability within Latent Variable Systems. In R. Cudeck, S. du Toit, & D. S?rbom (Eds.), Structural Equation Modeling: Present und Future—A Festschrift in Honor of Karl Joreskog. Lincolnwood, IL: Scientific Software International.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Talham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (2010). Multivariate Data Analysis with Readings. Upper Saddle River, NJ.: Prentice-Hall.

Hussain, Z., et., al. (2022). Green Growth, Green Technology, and Environmental Health: Evidence from High-GDP Countries. Online. Retrieved September 17 2022. from : https://www.frontiersin.org/ articles/10.3389/fpubh.2021.816697/full

Teece, D. (2014). A Dynamic Capabilities-Based Entrepreneurial Theory of the Multinational Enterprise. Journal of International Business Studies. 45, 8-37.

Teece, D. (2017). Dynamic Capabilities and (Digital) Platform Lifecycle. Emerald Publishing Limited, Bingley, pp. 211-225.

Lio, Y., et., al. (2022). Assessing the impact of green innovation on corporate sustainable development. Online. Retrieved September 17, 2022. from : https://www.Fronti ersin.org/articles/10.3389 /fenrg.2021.800848/full

Muangmee, Chaiyawit, Zdzisława Dacko-Pikiewicz, Nusanee Meekaewkunchorn, Nuttapon Kassakorn, and Bilal Khalid. (2021). Green Entrepreneurial Orientation and Green Innovation in Small and Medium-Sized Enterprises (SMEs). Social Sciences, 10 (4), 1-15.

Singh, S. and Giudice, M. (2021). Stakeholder Pressure, Green Innovation, and Performance in Small and Medium-Sized Enterprises: The Role of Green Dynamic Capabilities. Business a Strategy and the Environment, 31 (1), 500-514.

University of California. (2017). Structural Equation Modeling. Journal Citation Reports. Web of Science(Science ed.).

Zhang, J. et., al. (2018). The Influence of Greenwashing Perception on Green Purchasing Intentions: The Mediating Role of Green World-of-Mouth and Moderating Role of Green Concern. Journal of Cleaner Production. 187, 740-750.