การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างสรรค์ละคร เรื่อง ทุ่งบางเขน

Main Article Content

ธีรตา นุ่มเจริญ
อริศรา สร้อยปทุม
ชลธิฌา สุขสนิท
อภิญญา ดิลกจาตุรนต์
ฐิติพร พรหมมาศ
ณัฐกานต์ เพ็งสุพรรณ
ผกาทิพย์ ทองมาก

บทคัดย่อ

            การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตบางเขนในการสร้างละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขน และ เพื่อสร้างละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขน รูปแบบของการวิจัยในครั้งนี้ คือ รูปแบบของการวิจัยเชิงคุณภาพตามลักษณะของข้อมูลเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมได้จากการศึกษาพื้นที่ชุมชนเขตบางเขน โดยมีประชาการที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนเขตบางเขน กรุงเทพมหานครและผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ละครเครื่องมือวิจัย คือ ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และข้อมูลจากการสังเกตกิจกรรมและสภาพชุมชนเขตพื้นที่บางเขน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า
          1.กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบางเขนในการสร้างละครสร้างสรรค์เรื่อง ทุ่งบางเขน พบว่า มีระดับการมีส่วนร่วม 4 ระดับ คือ 1.1 การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Dicision Marking) ได้แก่ การเข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอเรื่องต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการสร้างสรรค์ละคร เรื่อง ทุ่งบางเขน ได้แก่ เหตุการณ์สำคัญเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญและมีคุณค่าทางจิตใจของชุมชนพื้นที่เขตบางเขน เรื่องเล่าจากตำนานของชุมชนบางเขนและทุนทางวัฒนธรรม ด้านการแสดงลำตัดและการบูชาพระแม่โพสพ อันเป็นวัฒนธรรมที่ส่งผ่านมาจากวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางเขน 1.2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Implementation) ชุมชนเข้ามามีส่วนในการแสดงความคิดเห็นจากบทละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขน 1.3 การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ (Benefits) ละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขน นี้ โดยเมื่อจัดการแสดง ความคาดหวังหรือจุดมุ่งหมายที่จะเกิดขึ้น เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน และสามารถต่อยอดไปสู่การทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้านอื่นและเกิดเป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ 1.4 การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) ชุมชมมีส่วนร่วมในการประเมินผลละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขน โดยมีประเด็นการประเมินจากผลสำเร็จของการแสดงละครสร้างสรรค์ เรื่องทุ่งบางเขน
          2) การสร้างละครสร้างสรรค์ เรื่อง ทุ่งบางเขนเป็นการสร้างสรรค์ละครโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่เขตบางเขน จึงมีลักษณะของการผสมผสานของละครเพลง การแสดงระบำ การแสดงพื้นบ้าน (ลำตัด) ผสมผสาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของทุ่งบางเขนและศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญของทุ่งบางเขน เพื่อให้เกิดสำนึกรักและให้ความสำคัญของพื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญารัตน์ แก้วกมล และคณะ. (2564). การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสาร วิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (1), 75-91.

คอลิด มิดำ. (2558). ละครกับพื้นที่ในชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านม้า. วารสารดนตรีและการแสดง. 1 (1), 95 – 111.

จรูญพร ปรปักษ์ประลัย. (2552). คนปรุงเรื่อง. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเด็ก

พรรัตน์ ดำรุง. (2564). สื่อการสอนประกอบวิชา การศึกษาเฉพาะบุคคลทางการละคร : Individual study

in drama and theatre ใ น หัวข้อเรื่อง “ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง” ( Theatre for Transformation). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://fineart.msu. ac.th/e-documents/myfile/ละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง.pdf

ยุทธนา บุญอาชาทอง. (2559). การสร้างละครเวทีเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนการแสดงใส่ใจสังคมนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 : วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ, 1743 – 1752.

สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2545). รัฐธรรมนูญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรวิช วรรณไกรโรจน์. (2564). รัชกาลที่ 8 ทรงหว่านเมล็ดข้าว ณ สถานที่ใดในทั่งบางเขน : การพิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 59, 375 – 382.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity through specificity. New York: World Developments.