สถานการณ์ชีวิตผู้สูงอายุและปัจจัยกำหนดความรุนแรงในผู้สูงอายุ : การสำรวจเชิงปริมาณในพื้นที่ 5 จังหวัด

Main Article Content

เพ็ญจันทร์ ประดับมุข-เชอร์เรอร์
อุบลพรรณ ธีระศิลป์
พีรญา เพชรชัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ชีวิต ความปลอดภัยและ ความรุนแรงในผู้สูงอายุในไทย กลุ่มตัวอย่าง เป็นการสุ่มอย่างเป็นระบบชั้นภูมิโดยศึกษา ชุมชนใน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร ภาคละ 1 จังหวัด จำนวนรวมตัวอย่างมีทั้งสิ้น 2,204ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ใช้โปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณา การวิเคราะห์สถิติเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยใช้ t test และ multiple regression
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความยากลำบากทางสังคมเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุกว่าครึ่ง ไม่ได้ทำงาน  เมื่อพิจารณาด้านรายได้ผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 74.5 มีรายได้ไม่ถึง 4,000 บาทต่อเดือน ผู้สูงอายุอยู่ลำพังพบประมาณร้อยละ 10 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลระดับประเทศ การศึกษาพบว่าผู้สูงอายุ ได้รับความรุนแรงด้านจิตในสัดส่วนที่สูงกว่าความรุนแรงด้านอื่นๆ รองลงมาเป็นความรุนแรงด้านทรัพย์สิน การถูกละเลยทอดทิ้ง ความรุนแรงทางกาย และทางเพศปัจจัยที่มีผลต่อความไม่ปลอดภัยในผู้สูงอายุ และความรุนแรงต่างๆ ได้แก่ ตัวแปร เพศ อายุ รายได้ สภาวะสุขภาพ และสภาวะการพึ่งพิง เป็นปัจจัยทำนายความไม่ปลอดภัยในผู้สูงอายุ  
          งานวิจัยนี้ มีข้อเสนอว่า แนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม ผ่านการทำงาน เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุที่ทำงานได้ สามารถพัฒนาตนเอง พึ่งตนเองได้ ผ่านการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ และได้รับแรงกระตุ้นจากทุกภาคส่วนให้เกิดการสร้างงานมีรายได้ในกลุ่มผู้สูงอายุ นโยบายพฤติพลัง (active aging) ที่คำนึงถึงบริบททางสังคม วัฒนธรรมของผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ รวมทั้ง การสนับสนุนสร้างหุ้นส่วน เรื่อง การจัดระบบสวัสดิการชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญสุดา บุญทศ และขนิษฐา นันทบุตร. (2560). ความสุข ความทุกข์ และสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ในชุมชน แห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย (Happiness, Distress and Mental Health of the Elderly in a Community in the Upper North Region of Thailand วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560; 62(3) : 257-270.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุไทย: การทบทวนองค์ความรู้และสถานการณ์ในปัจจุบัน Elderly Mistreatment among Thai Elderly: The Review State of Science and Current Situation. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

จันจิรา วิชัย และ อมรา สุนทรธาดา. (2553). สุขภาวะผู้สูงอายุในมิติของการกระทำความรุนแรง (Health Dimensions of Aging People and Violence). ในสุชาดา ทวีสิทธิ์, สวรัย บุณยมานนท์ (บรรณาธิการ). คุณค่าผู้สูงอายุในสายตาสังคมไทย ประชากรและสังคม 2553.พิมพ์ครั้งที่ 1.นครปฐม : สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์และคณะ. (2556) การศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศจาก ผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. รุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.), 2565: กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562 (ส. มหาวิทยาลัยมหิดล Ed.): สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยมนา ชนะนิล, พรชัย จูลเมตต์,นัยนา พิพัฒน์วณิชชา(2564)ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธาณสุข. 30(2), 83-92.

วราห์ เห่งพุ่ม( 2549). การคุ้มครองผู้สูงอายุให้พ้นจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพ :สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และคณะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและข้อมูลสถิติที่สำคัญ เกี่ยวกับผู้สูงอายุ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) และวิทยาลัย ประชากรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พงษ์พาณิชย์เจริญผล.

อมรา สุนทรธาดา และ สุพัตรา เลิศชัยเพชร. (2552). ครอบครัวกับผู้สูงอายุ(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://reviewselderlyfamily.weebly.com

American Medical Association. (1992). Diagnostic and treatment guidelines on elder abuse and neglect. Chicago, IL: American Medical Association. Reprinted with permission: American Medical Association.

Aulino, F. (2016). Rituals of care for the elderly in northern Thailand: Merit, morality, and the everyday of long-term care. American Ethnologist, 43, 91-102.

Braveman P, Gottlieb L. (2014). The social determinants of health: it's time to consider the causes of the causes. Public Health Reports.129(Suppl. 2):19–3.

Chalise, H.N. and Basnet, M. (2017) Abuse of Older Adults Residing in the Community of Nepal. Journal of Gerontology & Geriatric Research, 6, 415.

https://doi.org/10.4172/2167-7182.1000415

Daly, J. M., Merchant, M. L., & Jogerst, G. J. (2011). Elder abuse research: a systematic review. Journal of elder abuse & neglect, 23(4), 348–365. https://doi.org/10.1080/08946566.2011.608048.

Lee, C. (2001). Experiences of family caregiving among older Australian women. Journal of Health Psychology, 6(4), 393-404.

Sherer, P.P., & Sherer, M. (2016). Victimization among high school students in Thailand. ANZSOC, 49(3), 370–388.

World Health Organization (2002) The World health report : 2002 : reducing risks, promoting healthy life : overview. Geneva: World Health Organization

United Nations (2019). World Population Aging 2019, highlights. Department of Economic and Social Affairs, Population Division. United Nations.

World Health Organization (2015). World report on ageing and health. Geneva, WHO.

World Health Organization [WHO]. (2002) Active ageing: a policy framework. Geneva: World Health Organization.

Yan E, Chan K L, Tiwari A. (2015). A systematic review of prevalence and risk factors for elder abuse in Asia. Trauma Violence Abuse. 2015 Apr;16(2):199-219. doi: 10.1177/1524838014555033.