การวิเคราะห์กรอบแนวความคิดสมการโครงสร้างของเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อความได้เปรียบด้านการแข่งขันสำหรับวิสาหกิจชุมชน

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 2) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของกรอบแนวความคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์สำหรับวิสาหกิจชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 310 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามที่ทำการทดสอบค่าความสอดคล้องแล้วมีค่าระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล
          ผลการวิจัยพบว่าการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) โดยพบว่าองค์ประกอบตัวแปรแฝงด้านแนวคิดด้านเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดใช้ตัวแปรสังเกตได้ 6 ตัวในการวัดด้านตัวแปรแฝงด้านความยากต่อการลอกเลียนแบบใช้ตัวแปรสังเกตได้ 4 ตัวในการวัด ตัวแปรแฝงด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นใช้ตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัวในการวัด ด้านตัวแปรแฝงด้านความสำเร็จทางการตลาดใช้ตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัวในการวัดและตัวแปรแฝงด้านความได้เปรียบด้านการแข่งขันใช้ตัวแปรสังเกตได้จำนวน 3 ตัวในการวัด และพบว่าตัวแปรด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นมีค่าเส้นทางความสัมพันธ์มากที่สุด ผลการตรวจสอบความสัมพันธ์เพื่อประเมินดัชนีวัดความสอดคล้องมีค่าเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square = 978, df = 489, p-value = 0.0000, RMSEA = 0.038, CFI = 0.93, GFI = 0.93)
          พบว่าต้องนำโดดเด่นของท้องถิ่นท้องถิ่นมาสร้างเป็นจุดเด่น เชื่อมโยงเรื่องราวต่าง ๆ ในท้องถิ่น เพื่อสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์และความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่นก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ความแปลกใหม่ ผสมผสานกับกับการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ รวมถึงต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคแต่ละช่วงวัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา คงฤทธิ์. (2563). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.fpoJour nal.com/creative-economy/.

โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. (2562). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.phd.ru.ac.th/images/document/KM/KM-2562.pdf.

นวพร สังวร. (2557). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในการส่ง ออกยางพาราไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.ar.or.thอ /ImageData/Magazine/5/DL_116.pdf?t=635730180171323951

เมทิกา พ่วงแสง และ หญิง มัทนัง. (2563). แนวทางการส่งเสริมการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึง ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 12 (2), 55- 66.

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal. 11 (1): 2148- 2167.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2565). ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory .php?region_id=&province_id=13&amphur_id=&key_word=

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

สุชาติ จรประดิษฐ์ และคณะ. (2557). อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย. วารสุทธิปริทัศน์. 28 (88): 170-195.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สํานักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น.

ชัชชนก เตชะวณิช. (2561). บุพปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 5 (1), 93-116.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.prachachat.net/csr-hr/news-604476.

Aisha, A. et., al. (2019). A Competency Model for SEMs in the Creative Economy. International Journal of Business, 24 (4), 369-392.

Deloitte. (2021). The Future of the Creative Economy. Online. Retrieved September 7, 2021. from : https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/uk/Documents/technology-media-telecommunications/deloitte-uk-future-creative-economy-report-final.pdf

Distanont, Anyanitha and Khongmalai, Orapan. (2020). The role of innovation in creating a competitive advantage. Kasetsart Journal of Social Sciences, 41 (2020), 15–21.

Flew, Terry & Cunningham, Stuart D. (2010) Creative industries after the first decade of debate. The Information Society, 26 (2): 113-123.

Gunday, G., et., al. (2009). Effect of Innovation Types on Firm Performance. International Journal Production Economics, 133, 662-676.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper, Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Hoyle, R. H., & Kenny, D. A. (1999). Statistical power and tests of mediation. In R. H. Hoyle (Ed.), Statistical strategies for small sample research. Newbury Park: Sage.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling 3rd, New York, NY: The Guilford Press.

Muthén and Muthén. (2002). Beyond SEM: General Latent Variable Modeling. Online. Retrieved September 16, 2021. from : https://link.springer.com/article/10.2333 /bhmk.29.81

Nuryakin, et al. (2018). Mediating effect of value creation in the relationship between relational capabilities on business performance. Contaduría y Administración, 63 (1); 1-21.

Rosyadi, S., et., al. (2020). The Multi-Stakeholder’s Role in an Integrated Mentoring Model for SME’s in the Creative Economy Sector. SAGE (Oct.-Dem.): 1-14.

Shiu, E. (2010). Reliability, validity, generalizability and the use of multi-item scales. Online. Retrieved July 11, 2021. from : http://www.strath.ac.uk/.../E.Shiu-Presentation _slides