รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติ : กรณีศึกษาหญิงไทยเมียฝรั่ง

Main Article Content

สุพรรษา จิตรสม
นิตย์ บุหงามงคล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติของหญิงไทยอีสานที่แต่งงานข้ามวัฒนธรรมกับผู้สูงอายุชาวตะวันตก ในพื้นที่จังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหญิงไทยอีสานที่แต่งงานกับผู้สูงอายุชาวตะวันตกและอาศัยอยู่ในพื้นที่ศึกษาเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป จำนวน 14 คน เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
          ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุชาวต่างชาติของหญิงไทยอีสานในลักษณะการดูแล “แบบองค์รวมและผสมผสานวัฒนธรรม” โดยการดูแลอยู่บนความต้องการพื้นฐานของผู้สูงอายุชาวต่างชาติที่ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมเศรษฐกิจ และด้านจิตวิญญาณ ซึ่งผู้ดูแลได้มีการผสมผสานวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบวิถีไทยอีสานและวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตแบบตะวันตกไว้ในกิจกรรมการดูแลอย่างลงตัวและควบคู่กันไป เพื่อให้ผู้สูงอายุชาวต่างชาติได้รับการตอบสนองความต้องการและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวิชญ์ พรรณรัตน์. (2561). ปรากฎการณ์การแต่งงานข้ามวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมภายในครอบครัวสังคมภาคใต้ ในบริบทสังคมปัจจุบัน: บทสังเคราะห์งานวิจัยและผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง. การประชุมวิชาการด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 “มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ : พลังปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น”. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 533-541.

เฉลิมพล แจ่มจันทร์. (2562). สูงอายุ-ย้ายถิ่น-พำนักยาว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/121177

ชลการ ทรงศรี. (2559). การดูแลผู้สูงอายุในบริบทไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 9 (3), 86-97

นิยพรรณ วรรณศิริ. (2550). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท

นิราศศิริ โรจนธรรมกุล. (2563). การพยาบาลผู้สูงอายุ : ด้านการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์

ปิ่นนเรศ กาศอุดม, ฆนรส อภิญญาลังกร, กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ และนิมัสตูรา แว. (2561). บทบาทครอบครัวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสถานการณ์เปลี่ยนแปลง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5 (3), 300-310.

พัทยา เรือนแก้ว. (2561). คู่สมรสไทย-เยอรมัน: การแลกเปลี่ยนชดเชยต่างตอบแทนและการพึ่งพาซึ่งกันและกัน. วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา. 37 (1), 43-71.

มะยุรี วงค์กวานกลม. (2561). ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน.

วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ฉบับพิเศษการประชุมพยาบาล ครั้งที่ 25, 140-148.

มานะ นาคำ. (2565). การผสมกลมกลืนวัฒนธรรมของคู่สมรส. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 39 (1), 160-181.

เย็นจิตร ถิ่นขาม และมณีมัย ทองอยู่. (2552). การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมข้ามพรมแดนในการแต่งงานข้ามวัฒนธรรมระหว่างหญิงไทยกับชายญี่ปุ่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 9 (4), 90-101.

รัถยานภิศ พละศึก และเบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2560). ตัวแบบของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (3), 135-150.

วรรณลักษณ์ เมียนเกิด, ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และเกษม เพ็ญภินันท์. (2558). การดูแลผู้สูงอายุในปริมณฑลส่วนตัวและสาธารณะ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์; 23 (1), 146-176.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2555). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัยขอนแก่น: สำนักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา.

ศรีหทัย เวล์ส. (2559). ตัวตนและพื้นที่ทางสังคมของ "ภรรยา" ฝรั่งในบริบทวิถีครอบครัวต่างวัฒนธรรม. ดุษฎี นิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาไทยศึกษา. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัย บูรพา

สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. (2564). การดูแลผู้สูงอายุ: สถานการณ์และคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2554). การพยาบาลองค์รวม: กรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพลส จำกัด.

อารยา ทิพย์วงศ์. (2562). วัฒนธรรมการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย. วาสารพยาบาล. 68 (1), 11-19.

อรนุช สีตบุตร. (2554). การแต่งงานข้ามชาติการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมการเลือกคู่สมรสหญิงอีสานกับชาวต่างชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์. คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Julchoo, S.; Pudpong, N.; Phaiyarom, M.; Sinam, P.; Khunakorncharatphong, A.; Suphanchaimat, R. Health Status and Barriers to Healthcare Access among "Son-in-Law Westerners": A Qualitative Case Study in the Northeast of Thailand. Int. J. Environ.Res. Public Health 2021,18,11017. https://doi.org/10.3390/ijerph182111017

Knight, S. M. (2022). Holistic Care. Psychiatric Services (Washington, D.C.), 73(11), 1302–1303. https://doi.org/10.1176/appi.ps.20220164

Mary A. Blaszko Helming, Cynthia C. Barrere, Karen M. Avino, Deborah A. Shields. (2013). Core curriculum for holistic nursing. 2nd ed. Jones & Bartlett Learning, LLC, an Ascend Leaning Company.

Statham, Paul. (2020). Living the long-term consequences of Thai-Western marriage migration: the radical life-course transformations of women who partner older Westerners. Journal of Ethnic and Migration Studies, 46(8), 1562-1587. DOI: 10.1080/1369183X.2019.1565403

United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2020). World Population Ageing 2020 Highlights: Living arrangements of older persons.