การจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ฉัตรปวีณ์ ธนัตนัคพันธ์
พิจิตรา ธงพานิช
สฤษดิ์ ศรีขาว

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบทักษะอาชีพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบทักษะอาชีพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบและกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านฝั่งแดง(พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) จำนวนนักเรียน 22 คน และโรงเรียนบ้านแสนพันหมันหย่อน จำนวน 20 คน ตามลำดับ ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และจับสลากได้โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ และโรงเรียนบ้านแสนพันหมันหย่อน เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดด้านทักษะอาชีพ 3) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t - test แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One-way MANOVA)
          ผลการวิจัย พบว่า
          1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบมีทักษะอาชีพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะอาชีพและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2563). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). มหาสารคาม

: ตักศิลาการพิมพ์.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การปรึกษาครอบครัว FAMILY counseling. ชลบุรี: เนติกุลการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2558). การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity Based Learning (CBL) กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (2), 23-37.

อารยา ช่ออังชัญ และวัชรา เล่าเรียนดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2 (2), 94-107.

Joyce, B. and Weil, M.(1996).Model of teaching. 5th ed. Boston : Allyn and Bacon. 91. Klausmeier& Ripple.

Miller, M.A., and Badcock D.E.(1996).Critical Thinking Applied to Nursing. Missouri: Mosby-yearbook.

Yilmaz K. (2008).Constructivism : Its theoretical underpinnings, variations, and implications for classroom instruction. Educational Horizons. 86 (3), 161-172.