กลวิธีการใช้ภาษาไทยในการแสดงความไม่พอใจของนักศึกษาไทย : การศึกษาตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์

Main Article Content

ชญานิน บุญส่งศักดิ์
ขนิษฐา ใจมโน
บุญเหลือ ใจมโน
สุชาดา เจียพงษ์

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษากลวิธีการใช้ภาษาไทยในการแสดงความไม่พอใจของนักศึกษาไทย ระดับความไม่พอใจ และปัจจัยในการเลือกใช้วิธีดังกล่าว โดยงานวิจัยศึกษาเพียงการใช้วัจนภาษาของผู้พูดเท่านั้น การเก็บข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่จำกัดสาขา และชั้นปี จำนวน 20 คน แบ่งเป็นชาย 10 คน และหญิง 10 คน  โดยยกตัวอย่างสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดความไม่พอใจในรั้วมหาวิทยาลัยทั้งหมด 18 สถานการณ์ ผลการวิจัยพบว่ากลวิธีทางการใช้ภาษาในการแสดงความไม่พอใจของนักศึกษามี 10 วิธี ได้แก่ 1. การใช้คำหยาบคาย 2. การติเตียน 3. การบอกเล่า 4. การตั้งคำถาม 5. การร้องขอ 6. การข่มขู่ 7.การประชดประชัน 8.การใช้สำนวน 9. การใช้คำอุทาน 10.การรักษาหน้า พบว่าปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทยได้คำนึงถึงในการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความไม่พอใจพบทั้งหมด 3 ปัจจัยโดยเรียงลำดับจากการให้ความใส่ใจมากไปน้อย ได้แก่ 1. อายุ 2. ความสนิทสนม 3.เพศ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่น ๆ แฝงร่วมเช่น รูปร่างทางกายภาพของคู่กรณีด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาไทยส่วนใหญ่ยังคงคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับคู่สนทนาเป็นหลัก ส่วนเรื่องเพศสภาพนั้นไม่ค่อยมีผลต่อการเลือกใช้ภาษาในการแสดงความไม่พอใจแต่จะมีผลต่อการใช้เรียกขานคู่กรณีมากกว่า โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยระดับความไม่พอใจไม่แตกต่างกัน ในขณะที่อายุน้อยมีแนวโน้มที่จะมีระดับความไม่พอใจมากที่สุด ทั้งนี้พฤติกรรมการใช้ภาษาด้านบนสามารถทำให้มองเห็นถึงระบบอาวุโสและความเท่าเทียมทางเพศในการใช้ภาษาของสังคมไทยปัจจุบันได้อีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คุณัชญ์ สมชนะกิจ. (2561). การถ่ายโอนวัจนปฏิบัติศาสตร์ในการแสดงความไม่พอใจของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

เป็นภาษาต่างประเทศชาวไทย,อินทนิลทักษิณสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ. 13 (1), 189-222.

ชาญวิทย์ เยาวฤทธา. (2561). วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจของนักศึกษาต่อผู้ปกครองและปัจจัยที่ผู้พูด

คำนึงถึง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 12 (2), 96-126.

พนมพร นิรัญทวี. (2544). จุลสารลายไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุ่งอรุณ ใจซื่อ. (2549). วัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในภาษาไทย : กรณีศึกษานิสิตนักศึกษา

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์

ปานปั้น ปลังเจริญศร. (2560). กลวิธีความไม่สุภาพที่ใช้ในสัมพันธสารการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในรัฐสภาไทย. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

สิทธิธรรม อ่องวุฒวัฒน์. (2549). วัจนกรรมการตักเตือนในภาษาไทย : กรณีศึกษาครูกับศิษย์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์. (2560). กลวิธีทางภาษาและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการ

แสดงความไม่พอใจ. วารสารธรรมศาสตร์. 36 (3), 1-21.

Ellis, R. (1994). The Study of Second Langauge Acquisition. Oxford: Oxford University Press.

Hurford, J. R., & Heasley, B. (1983). Semantics: A coursebook. Cambridge University

Press.