ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเกษตรกร ผู้ปลูกทุเรียน กรณีศึกษา: จังหวัดชุมพร

Main Article Content

อารมณ์ ร่มเย็น

บทคัดย่อ

          ประชากรของประเทศไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และปัญหาสุขภาพที่มีความเกี่ยวเนื่องจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม กับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองต่อระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 2) เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 3) เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน โดยทำการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวและตรวจคัดกรองระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดกับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 44 คน ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าร่วมงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.0 มีอายุระหว่าง 51 - 60 ปี ร้อยละ 54.5 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 79.5 มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน 11 - 20 ปี ร้อยละ 45.4 เป็นผู้ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยตนเอง ร้อยละ 70.5 และร้อยละ 95.5 ทราบว่าขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องสวม หน้ากากหรือใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก หากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หกรดร่างกายต้องล้างออกให้เร็วที่สุด และหลังฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชควรอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที (ร้อยละ 97.7) และร้อยละ 93.2 อ่านฉลากที่ภาชนะบรรจุก่อนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่สูบบุหรี่/ยาเส้น และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันทีภายหลังการฉีดพ่นสารเคมี


จากการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่าข้อมูลส่วนบุคคล การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความรู้ ทัศนคติ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรส ส่วนพฤติกรรมการปฏิบัติงานในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์กับระดับเอ็นไซม์โคลีน เอสเตอเรสของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมงานวิจัยมีความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัด ศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 63.6 และ 70.5 ตามลำดับ) ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับถูกต้องมาก ร้อยละ 84.1 และมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.3 จากการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงานวิจัยพบว่ามีอาการเหงื่อออกและปวดศีรษะ หลังการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบ่อยๆ (ร้อยละ 18.2 และ 6.8 ตามลำดับ) บางครั้งมีอาการอ่อนเพลีย และเจ็บคอหรือคอแห้ง (ร้อยละ 34.1 และ 31.8 ตามลำดับ) ร้อยละ 90.9 มีระดับเอ็นไซม์โคลีน เอสเตอเรสในเลือดไม่ปลอดภัย การศึกษานี้เสนอให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนควรมีกิจกรรมส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจจนเกิดความตระหนักและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และควรส่งเสริม สนับสนุนให้กำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีที่ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. (2544). ผลงานประจำปี. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. ข่าวส่งเสริมการเกษตรจังหวัดชุมพร. (2564). ออนไลน์. สืบค้นจากhttps://thainews.prd.go.th/RegionNews/RegionNews/Detail/TCATG210617152118269

วรเชษฐ์ ขอบใจ และคณะ. (2553). พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์ โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ : กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางสุขภาพ. 4 (2), 36-46.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถิติประชากรศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 256. แหล่งที่มา: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร, ระบบกลุ่มรายงานมาตรฐาน. (2564) โรคจากการประกอบอาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 256. แหล่งที่มา: https://cpn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/ page.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68

สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม, กรมควบคุมโรค. (2558). องค์ความรู๎เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยกระดาษทดสอบโคลีน เอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหน่วย บริการสุขภาพปฐมภูมิ. นนทบุรี.