การศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้วิจัยเรื่องความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ เปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) ของนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำแนกตามเพศ ระดับชั้น ระดับการศึกษาของบิดามารดา และอาชีพของบิดามารดา และหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน จำนวน 253 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม 3 ตอน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคลของนักเรียน แบบทดสอบความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย (x) ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีความรู้การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1) ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
2. นักเรียนมีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) อยู่ในระดับสูง
3. นักเรียนที่มีเพศ และระดับชั้นต่างกัน มีความรู้การป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) และ มีพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษาของบิดามารดากับอาชีพของของบิดามารดาแตกต่างกัน มีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความรู้การป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัด 2009 (H1N1) เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2552). แนวทางการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอวิทย์ (ประเทศไทย).
กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือประชาชนรู้เท่าทันเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009. กรุงเทพมหานคร:
กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2552). โครงการรณรงค์รวมพลัง สร้างสุขภาพดี ชีวิตมีสุข. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์
แอนดี.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไว้รัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาล กรารสาธารสุขและการศึกษา. 21 (2), 29-39.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. (2535). พฤติกรรมศาสตร์พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ประสิทธิ์ ทองอุ่น. (2542). พฤติกรรมมนุษยกับการพัฒนาคน. กรุงเทพมหานคร: เธิรดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
พรทิพย์ ไชยโส. (2535). การสรางเครื่องมือวัดผลดานพุทธิพิสัย. เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (หนวยที่ 8-15, หน้า 318-373). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พวงทอง ป้องภัย. (2540). พฤติกรรมศาสตรเบื้องตน. ปตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2538). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ฝ่ายวิชาการ. (2553). รายงานบันทึกจำนวนนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงปีการศึกษา 2553. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง, หน่วยพยาบาล. (2559). รายงานบันทึกปัญหาสุขภาพนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, เตือนใจ เกตุษา และบุญมี พันธุ์ไทย. (2545). วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษา 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.