กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) แบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ประกาศ เจริญราษฎร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลกลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม สำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) แบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบ(1) ทีมสหสาขาวิชาชีพ 10 คน (2) เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขธวัชบุรีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 20 คน (3) เครือข่ายชุมชนและตัวแทนหน่วยงานของรัฐ 200 คน และ (4) ผู้รับบริการ 240 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) การวิจัยแบ่งเป็นขั้นตอนการค้นหาปัญหา (Look) การประเมินปัญหา (Think) และปฏิบัติการแก้ไขปัญหา (Act) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร วรรณกรรม  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสำรวจ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคและความพึงพอใจของผู้รับบริการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า (1) กลยุทธ์การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม ได้แก่ การสำรวจพื้นที่จัดตั้ง ประชาพิจารณ์และประชุมชี้แจงกับชุมชน การเปิดโรงพยาบาลสนาม  การวางแผนระบบการรักษา และการติดตามและการประเมินผล (2) มีผู้รับบริการทั้งหมด 478 คน เป็นผู้รับบริการในเขต 397 คน (83.0%) นอกเขต 81 คน (17.0%) รักษาครบ 100% ไม่มีผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ ผู้มารับบริการมีพฤติกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยรวมและรายข้อทุกข้ออยู่ในระดับดีมาก ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์การบริหารจัดการฯ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง ภายใต้ "คนร้อยเอ็ดไม่ทิ้งกัน" และสื่อสารข้อมูลความรู้รวดเร็วด้วยเทคโนโลยี ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ผู้รับบริการเข้าถึงและได้รับบริการโรงพยาบาลสนาม และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามกรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

ในกลุ่มผู้ป่วยไมแสดงอาการหรือมีอาการน้อย). นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กิติมา ลิ้มประเสริฐ. (2565). โครงการประเมินผลการจัดบริการพยาบาลผู้สงสัยและผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลสมุทรสาคร. วารสารแพทย์เขต 4-5. 41 (2), 193-208.

งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. (2563). รายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. กลุ่มงานควบคุมโรค.

โรงพยาบาลธวัชบุรี. (2563). งานระบาดวิทยา รายงานระบาดวิทยา. กลุ่มหลักประกันสุขภาพ ยุทธศาสตร์ และสารสนเทศทางการ แพทย์และสาธารณสุข.

ฐิรพร อัศววิศรุต และคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารทางการพยาบาลต่อสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนาม จังหวัดยโสธร. ยโสธรเวชสาร. 24 (1), 35-44.

ธนพัชญ์ เผือกพิพัฒน์. (2564). การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ ในสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา: แขวงคลองจั่นเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 5 (2), 1-14.

นภชา สิงห์วีรธรรม และคณะ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร. 14 (3), 31-42.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. (2564). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุม

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 3 (2), 193-206.

ปาริชาติ กาญจนวงค์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ และนภชา สิงห์วีรธรรม. (2564). ผลของการพัฒนาระบบบริการโรงพยาบาลสนามต่อการจัดการด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของบุคลากรและผู้ป่วยโควิด-19. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. 11 (2), 121-136.

ไพรัช วงศ์จุมปู, สมภพ เมืองชื่น และกนกวรรณ เอี่ยมชัย. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการบริการแพทย์

ฉุกเฉินในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 (2), 231-239.

ไพรัช วงศ์จุมปู และทัศนมินทร์ รัชตาธนรัชต์. (2565). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดพะเยา. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2 (1), 17-27.

ภัคณัฐ วีรขจร และคณะ. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3 (3), 106-117.

รวิพร โรจนาอาชา และคณะ. (2564). แนวทางการกักกันผู้เดินทางมาจากท้องที่หรือนอกราชอาณาจักรที่มีความเสี่ยงในช่วงระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) : รูปแบบโรงแรมสำหรับกักกันตนเอง อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 8 (1), 337-348.

รัชนี เต็มอุดม และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 28 (1), 1-13.

Nguyen, T. (2020). Safety plan during Covid-19 pandemic in restaurant industry, case study: KOKORO Sushi. Laurea University of Applied Sciences Safety, Security and Risk Management Bachelor of Business Administration.

Stringer ET. Action research. 4thed. Los Angeles: Sage; 2013.

World Health Organization. การทบทวนร่วมระหว่างการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทย. World Health Organization Thailand; 2020.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาล และสาธารณสุขภาคใต้. 8 (1), 337-348.