การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

กฤษฎิ์ เพียรมาก
ธิติยา บงกชเพชร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน เรื่อง มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน เรื่องมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 3 แผน แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรมและแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์ด้านเนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน เรื่อง มนุษย์และการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ควรมีลักษณะดังนี้ ครูเลือกนำเสนอปรากฏการณ์ที่มีบริบทหรือสถานการณ์ใกล้ตัวกับนักเรียน ไม่ซับซ้อนจนเกินไป ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเชื่อมโยงความรู้ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกันวิพากษ์และอธิบายถึงปรากฏการณ์นั้นด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อให้นักเรียนได้เกิดการคิดวิเคราะห์และให้เหตุผลจากหลักความจริงทางวิทยาศาสตร์ ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง 2) ศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้ครบทั้ง 3 วงจรปฏิบัติการ นักเรียนแสดงสมรรถนะการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40.00 รองลงมาคือ สมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 36.80 และสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 24.40 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Hodson, D. (2008). In towards scientific literacy: A teacher guide to history, philosophy and sociology of science Rotterdam. The Netherlands: Sense.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia: Deakin University Press

Sampson, V., & Gleim, L. (2009). Argument-driven inquiry to promote the understanding of important concepts and practices in biology. The American Biology Teacher, 71 (8), 42-47

Sampson, V., Grooms, J., & Walker, J. (2009). Argument-driven inquiry. The Science Teacher, 76 (8), 42-47.

Silander, P. (2015). Phenomenon based learning rubric. Retrieved August 21, 2021 from http://nebula.wsimg.com/c58399e5d05e6a656d6e74f40b9e0c09?AccessKeyId=3209BE92A5393B603C75&disposition=0&alloworigin=1

Silander, P. (2015). Phenomenon Education. Retrieve August 21, 2021 from http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL? Retrieved August 21, 2021 from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl.