การประเมินการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการให้บริการประชาชนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมโนนสะอาด Smart Officer ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโนนสะอาด โดยการจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลโนนสะอาด รวมทั้งสิ้น 388 ราย สัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ให้ข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA กรณีพบความแตกต่างจะวิเคราะห์คู่ที่แตกต่างโดยใช้สถิติ Scheffe’
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมโนนสะอาด Smart Officer ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในด้านนวัตกรรม E-Smart Service ค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.2 อยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของประชาชนต่อการใช้นวัตกรรมโนนสะอาด Smart Officer ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝐗̅= 4.89) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการอำนวยความสะดวก (𝐗̅= 4.99) รองลงมาเป็น ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (𝐗̅= 4.87) ด้านสารสนเทศของหน่วยงาน (𝐗̅= 4.87) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านคุณภาพการให้บริการ (𝐗̅= 4.86)
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมโนนสะอาด Smart Officer ของเทศบาลตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ของประชาชนซึ่งจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ พบว่าด้านเพศ ระดับการศึกษาและอาชีพ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีอายุที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
รัตนา เพ็ชรสูงเนิน และ ชัชวาลย์ มากสินธ์. (2563). ความพึงพอใจของผู้รับบริการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด. มหาจุฬาวิชาการ. 7 (2), 239-253.
เอมอร พงษ์เกิดลาภ และ สมาน กลิ่นเกษร. (2558). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา. สหวิทยาการวิจัย. 4 (3), 220-228.