ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL ที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ลักคณา นาคพันธ์
เมษา นวลศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม (3) ประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL และ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) คะแนนหลังการจัดการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL คิดเป็นร้อยละ 75.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  และ 3) ผลการประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACA MODEL ด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จารุรัตน์ แก้วรอด. (2564). MACA MODEL สอนวิทยาศาสตร์อย่างไรให้โดนใจนักเรียน. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา : https://inskru.com/idea/-MlZ8dGSOIpalf9_MxYN.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทรงศักดิ์ พละศักดิ์. (2546). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเทศบาลและโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดในจังหวัดกาฬสินธุ์. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เบญจวรรณ ดาบทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยวิธีการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29 (2), 163-174.

พัทธนันท์ ปั้นแก้ว. (2558). การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2565.แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/karsubseaahakhwamru/home/

hlakkarkhxngkrabwnkarkhidtamthvsdi.

วิมาน วรรณคำ. (2539). ความต้องการเพิ่มประสิทธิการสอนของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตการศึกษา 11. นครราชสีมา: สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตการศึกษา 11.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุล มูลแสดง. (2554). สัมมนาการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกชัย เอี่ยมสุขมงคล สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ และ สมศิริ สิงห์ลพ. (2564). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับการประยุกต์ใช้เทคนิค STAD เรื่อง ระบบต่าง ๆ ของมนุษย์ และสัตว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17 (77), 113-123.