การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับวิชา แอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ

Main Article Content

ภัทรานิษฐ์ พรหมสุรินทร์
นภาภรณ์ ธัญญา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1.ศึกษาความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับวิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2.พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับวิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3.ประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการจัดการรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับวิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 50 คน ปีการศึกษา 2565  เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
          ผลการวิจัยพบว่า1.ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์วิชาแอโรบิคของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯมี 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการของรูปแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นประสานความคิด (3) ขั้นพิชิตปัญหา (4) ขั้นพัฒนาสร้างสรรค์ (5) ขั้นบรรลุความเป็นเลิศ 4) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 3. ผลการประเมินคุณรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทักษะความคิดสร้างสรรค์วิชาแอโรบิคหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2550). การพัฒนารูปแบบการประเมินหลักสูตร: การประยุกต์ใช้การประเมินอภิมาน.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

จินตนา ศิริธัญญารัตน์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่บูรณาการกลยุทธ์การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในศตวรรษที่ 21 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชลี อุปภัย. (2555). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกายบุ๊คส์. (2550). แอโรบิคแดนซ์. กรุงเทพมหานคร: สกายบุ๊กจำกัด.

นรินทร์ สังข์รักษา. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมโนภาพแห่งตนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นภาภรณ์ ธัญญา. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการออกแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรีเขต 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

มาลี ภูมิภาค. (2546). ผลของการฝึกด้วยน้ำหนักและการเต้นแอโรบิกที่มีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวทิยาศาสตร์การกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมใจ สืบเสาะ. (2555.) การพัฒนารูปแบบสร้างสรรค์เชิงหรรษาบนเว็บ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุมาลี เพชรศิริ. (2542). เอกสารประกอบการสอนแอโรบิกดานซ์. สมุทรสาคร: วิทยาลัยพลศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร.

สุพัชรา ซิ้มเจริญ. (2543). คู่มือการเรียนการสอนแอโรบิคด๊านซ์. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์อักษร.

อารมณ์ เข็มเพ็ชร์. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกการลบ การคูณและการหารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์. ค.ม. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Guilford, J.P. (1971). The analysis of Intelligence. New York: McGraw Hill.

Torrance, E. P. (1963). Education and the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press.