ภาพสะท้อนพหุสังคมของประเทศมาเลเซียผ่านวัฒนธรรมอาหาร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพหุสังคมของประเทศมาเลเซียที่สะท้อนผ่านวัฒนธรรมอาหาร ผลการศึกษาพบว่าประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นจากอัตลักษณ์ในด้านความเป็นพหุสังคม ซึ่งเกิดจากการผสมผสานกลุ่มคนจาก 4 เชื้อชาติหลัก คือ กลุ่มชนเชื้อชาติจีน กลุ่มชนเชื้อชาติมลายู กลุ่มชนเชื้อชาติอินเดีย และกลุ่มเชื้อชาติผสมชาวเปอรานากัน ความเป็นพหุสังคมของมาเลเซียได้มีการสะท้อนผ่านวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นซึ่งมีอัตลักษณ์สำคัญ คือ อัตลักษณ์ด้านความหลากหลายของอาหารท้องถิ่น และอัตลักษณ์ด้านการผสมผสานของอาหารท้องถิ่น จากการที่อาหารท้องถิ่นมาเลเซียมีจำนวนมากมายหลายชนิด และเป็นอาหารท้องถิ่นที่มีความหลากหลายด้านรสชาติอันเป็นเครื่องมือในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลมาเลเซียได้มีการคัดเลือกอาหารท้องถิ่นเพื่อใช้ในการนำเสนออัตลักษณ์ ในด้านความเป็นพหุสังคมผ่านอาหารแก่นักท่องเที่ยว การท่องเที่ยวมาเลเซียมีแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงอาหารผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อเจาะตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความชื่นชอบด้านอาหาร (Foodies) ทำให้ ประเทศมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งจุดหมายปลายทางสำคัญของนักท่องเที่ยวต่างชาติสำหรับการสัมผัสประสบการณ์ อาหารท้องถิ่น ส่งผลต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของมาเลเซียที่มีการเจริญเติบโตขึ้นในทุกไตรมาส
Article Details
References
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2558). คู่มือโอกาสและทิศทางการค้าการลงทุนในประเทศมาเลเซีย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์.
จิรัชญา อ่อนโอภาส. ( 2559). มาเลเซีย-ข้อมูลพื้นฐาน. ฐานข้อมูลสังคม – วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2560. แหล่งที่มา: https://www.sac.or.th/databases/ southeastasia/index.php
ชุมพล ศรีสมบัติ. (2556). รากฐานวัฒนธรรมอาหารในคาบสมุทรมลายู. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม .2560. แหล่งที่มา: https://muslimlanna.wordpress.com/2013/01/12รากฐานวัฒนธรรมอาหารในค
ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์. (2559). “มลายู เดย์” และกลุ่มชาติพันธุ์ในแหลมมลายู. ทางอีศาน. 4 (47), 91-96.
นันทนา ปรมานุศิษฏ์. (2556). โอชาอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และ นิสิต มโนตั้งวรพันธุ์. (2553). เรียนรู้วัฒนธรรมเปอรานากัน (บ้าบ๋า ย่าหยา) จากเครื่องถ้วยนนยา. วารสารนักบริหาร (Executive Journal). 30 (3), 62-67.
พุมรี อรรถรัฐเสถียร. (2556). เปอรานากัน (Peranakan) สายเลือดลูกผสม. รูสมิแล. 34 (2), 91–95.
ภูมิ พิทยา. (2550). ปัญหาชนชาติและศาสนา (4). มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 10 ส.ค. – 16 ส.ค. 2550.
มรกตวงศ์ ภูมิพลับ, ชัยวัฒน์ มีสันฐาน และ สุเจน กรรพฤทธิ์. (2560). ร่วมรากอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
Lee, Yok Fee. 2014. Identiti Cina Malaysia: Elemen dan Pembentukan. Kuala Lumpur: Penerbit Universiti Malaya.