การพัฒนาทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จสำหรับเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอความสำคัญของทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ หรือ Executive functions (EF) ซึ่งเป็นความสามารถของกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้า เกี่ยวข้องกับการควบคุมการคิด การแสดงออกทางอารมณ์ และพฤติกรรม เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายด้วยดี หากได้รับการพัฒนาต่อเนื่องตั้งแต่ในวัยเด็กจะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต ทั้งความสำเร็จทางในการศึกษา การประกอบอาชีพ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต รวมถึงการมีสุขภาพกายและใจที่ดี องค์ประกอบของทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ ประกอบไปด้วย 9 ด้าน แบ่งเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ 1) กลุ่มทักษะพื้นฐาน 2) กลุ่มทักษะกำกับตนเอง และ 3) กลุ่มทักษะปฏิบัติ ครูปฐมวัยและประถมศึกษาตอนต้นมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการพัฒนาทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จของเด็ก โดยแนวทางของครูในการพัฒนาทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ ได้แก่ 1) การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อนำไปสู่การออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับวัยของเด็กต่อไป 2) การออกแบบกิจกรรมแบบบูรณาการที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติอย่างความหลากหลาย และมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผู้อื่น รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมและสื่อการสอนที่สนับสนุนการเรียนรู้ และ 3) การมีความเชี่ยวชาญในทักษะที่หลากหลาย โดยเฉพาะทักษะการสังเกต เพราะจะทำให้รู้เท่าทันความต้องการของเด็กและปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมได้ทันถ่วงที
Article Details
References
จุฑามาศ แหนจอน. (2560). การพัฒนาหน้าที่บริหารจัดการของสมองสำหรับวัยรุ่นโดยหลักสูตรการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 28 (2), 130-144.
ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2564). การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ในสภาวะวิกฤต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ
ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา : https://www.eef.or.th/article-executive-functions-151221/
ดุษฎี อุปการ และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใชหลักการใด “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร”. Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 1635-1651.
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. (2557). ‘EF ฉบับไม่เก๋ ไม่ฟุ้ง และทำได้จริงในทุกบ้านที่เข้าใจ’ ของ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา : https://waymagazine.org/ ef-prasert-phalittaphonkanphim/
ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). ดนตรีกับทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11 (2), 1175-1792.
วิริยาภรณ์ อุดมระติ และปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions ในเด็กวัย 7-12 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัทรักลูกกรุ๊ป
สุนีรา อินทเสน และมัธยันห์ แสนใจบาญ. (2563). Executive functions. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ
ตุลาคม 2565. แหล่งที่มา : http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/219_ 2020-02-29.pdf
สุภาวดี หาญเมธี. (2559). EF ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ Executive Function. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป).
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). ฝึก EF พัฒนาสมองลูกน้อย.
กรุงเทพฯ: สุข พับลิชชิ่ง.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive functions สำหรับครูปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป). (2561). คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive functions ในเด็กวัย 7 – 12 ปี สำหรับพ่อแม่และครู. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน)
Center of Developing Child Havard University. (2018). Excutive function & self –regulation. Online. Retrieved October 11, 2022. from :https://developingchild.harvard.edu/ science/key-concepts/executive - function.
Dawson, P., and Guare, R. (2009). Smart but scattered: The revolutionary “Executive Skills” approach to helping kids reach their potential. New York: Guilford Press.
Egeland, J., & Fallmy, r. Ø. (2010). Confirmatory Factor Analysis of the Behavior Rating Inventory of Executive Function (BRIEF): support for a distinction between emotional and behavioral regulation. Send to Child Neuropsychol, 16(4), 326 - 337.
Sharples, J. (2018). Executive function in education: Controlling the learning brain. Online. Retrieved October 11, 2022. from :https://www.education.sa.gov.au/sites/g/files/net 691/f/executive_functions_in_education_controlling_the_learning_brain.pdf.