ความไม่แน่นอนด้านสภาพแวดล้อมต่อประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนด้านสภาพแวดล้อมการดำเนินงานของอุตสาหกรรมต่อการนำการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์มาประยุกต์ ความไม่แน่นอนด้านสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรหนึ่งของทฤษฏีเชิงสถานการณ์ ผู้บริหารจำเป็นต้องประเมินความไม่แน่นอนด้านสภาพแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาของการทำธุรกิจ ทำให้กิจการสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมเพื่อให้อยู่รอดและการเติบโต รวมถึงการออกแบบระบบการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อกิจการ ตัวชี้วัดด้านความไม่แน่นอนได้แก่ ด้านการแข่งขัน ด้านความต้องการของลูกค้า ด้านเทคโนโลยี และด้านสังคมและการเมือง ส่วนตัวชี้วัดด้านการบัญชีบริหารเชิงกลยุทธ์มาใช้ ได้แก่ การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ การบัญชีบริหารเพื่อการ การวางแผน ควบคุม และวัดผลปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ และ เพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
Article Details
References
กุลชญา แว่นแก้ว. (2559). ผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการต้นทุนที่เหมาะสมที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตการค้าชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 9 (1), 46-64
ครูบ้านนอก.คอม. (2552). แนวคิดทฤษฏีการบริหารเชิงสถานการณ์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564.แหล่งที่มาเว็บไซต์ https://www.kroobannok.com/20420.
ปิยวรรณ เหตุทอง. (2560). ความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างองค์กรแบบกระจายอำนาจ ความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อม และระดับการใช้ตัวชี้วัดทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน: กรณีศึกษาธุรกิจโรงแรมในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พียาภัทร พึ่งคล้าย. (2562). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-65: อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. แหล่งที่มาเว็บไซต์ https://www.krungsri.com/ th/research/industry/industry-outlook/Hi-tech-Industries/Auto-Parts/IO/Industry-Outlook-Auto-Parts.
ศิริเพชร สุนทรวิภาต. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบัญชีการจัดการเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารด้านบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ในการ ขับเคลื่อนผลการดำเนินงาน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 5 (1), มกราคม-มิถุนายน2562
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2563). อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฏาคม 2563. แหล่งที่มาเว็บไซต์ https://www.pier.or.th/forums/2020/06/automobile-and-automotive-parts/.
สมบูรณ์ สารพัด และคณะ. (2561). หลักการและทฤษฏีการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรโดยใช้ Balance Scorecard และการนำไปประยกุต์ใช้. วารสารสยามวิชาการ. 20 (24), 35–48.
สุกฤษตา พุ่มแก้ว. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลทางการเงินโดยข้อมูลบัญชีบริหารของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มอุตสาหกรรมยาพาราในประเทศไทย. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อุษณีย์ เส็งพานิช (2562). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหาร ในการจัดการธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 1 (1), 59-70.
เอ็มรีพอร์ต (2565). ยอดส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วน ธันวาคม 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565.แหล่งที่มาเว็บไซต์ https://www.mreport.co.th/news/statistic-and-ranking/368-Thailand-Automotive-Export-2021-December,