แนวทางการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม ชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

พระสราวุฒิ วิสารโท (วิชัยโย)
พระครูสุธีคัมภีรญาณ
พระโสภณพัฒณบัณฑิต

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเศรษฐกิจชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักธรรมชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด งานวิจัยเล่มนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการลงภาคสนามในเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า หลักพุทธธรรมที่สอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้แก่ หลักสันโดษ คือ ความพอประมาณ ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ หลักทิฏฐธัมมิกัตถ 4 ความมีเหตุผล การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ หลักสัมมาอาชีวะ คือการประกอบอาชีพที่สุจริต มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
          สภาพปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่ามีปัญหาที่เกี่ยวกับ 1) ความยากจน การใช้จ่ายเกินตัว มีรายได้ทางเดียว ทำให้รายได้ไม่พอต่อรายจ่าย 2) ความแห้งแล้งการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า รวมถึงปัญหาของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งมีผลกระทบมาจากสภาพบริบทของพื้นที่ที่มี การส่งเสริมปลูกป่ายูคาลิปตัสเชิงเดี่ยว ในพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก ทำให้ดินแห้งแล้ง รวมทั้งไม่มีแหล่งน้ำสาธารณะเพียงพอ 3) สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่ใช้สารเคมีวัชพืชและศัตรูพืช ปัจจัยต่างๆ ในเขตของพื้นที่ชาวบ้านในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ทั้งด้านการยับยั้งกระบวนการฟื้นฟูดินทางธรรมชาติ และการงอก และการเจริญเติบโตของพืชอื่น โดยไม่มีมาตรการควบคุมที่เหมาะสม
          แนวทางการส่งเสริมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยหลักพุทธธรรมชุมชน
ทุ่งกุลาร้องไห้ ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้ง 3 ด้าน คือ 1) การแก้ไขสภาพปัญหา
ด้านความยากจน ด้วยหลักสันโดษ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนดำรงอยู่ในความพอเพียง
ทั้งในการดำเนินชีวิต มีความซื่อสัตย์ มีความอดทน ขยันหมั่นเพียร และมีความมั่นคงในจิตใจ
ไม่ตกไปสู่กระแสวัตถุนิยม และบริโภคนิยมได้โดยง่าย 2) การแก้ไขสภาพปัญหาด้านความแห้งแล้ง ด้วยหลักทิฏฐธัมมิกัตถ 4 โดยการจัดการบริหารน้ำในรูปแบบต่าง ๆ การขุดลอกหนองน้ำ การทำชลประทาน เป็นต้น และการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 3) การแก้ไขสภาพปัญหาด้านสารเคมี ด้วยหลักสัมมาอาชีวะ โดยการส่งเสริมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ ในอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดได้อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ยุวนุช ทินนะลักษณ์, (2549). ปริศนาภูมิปัญญาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิถีทรรศน์

ที. เมเยอร์, (2550). อนาคตของสังคมประชาธิปไตย. แปลโดยสมบัติ เบญจศิริมงคล. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ เอส. บี. คอนซัลติ้ง.

ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา https://www.google.com/searchchrome.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, (2549). การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ฟอร์เพซ.

วิจารณ์ พานิช, (2549). การจัดความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

เสรี พงศ์พิศ, (2548). เครือข่าย. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

เสรี พงศ์พิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชน แผนแม่บท แนวคิดแนวทางตัวอย่าง ร่างพระราชบัญญัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์.

Manville, (2001). Learning in the New Economy. Leader to Leader.

M. Alavi, and D.E.Leidner. (2001). “ Review : Knowledge Management and Knowledge Management System : Conceptual Foundations and Research lssues” . MIS Quarterly, Vol.27 (January 2001), 17.

สัมภาษณ์

พระครูปุญวราภรณ์ (ปุญฺญวโร), เจ้าคณะอำเภอเกษตรวิสัย วัดป่ายางตำบลเกษตรวิสัย

อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 4 เมษายน 2563.

พระครูวิโรจน์คุณากรณ์ (อติสโย), รองเจ้าคณะอำเภอเกษตรวิสัย วัดเหล่าเสือ

ตำบลเหล่าหลวง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 2 เมษายน 2563.

พระมหาทองมาก อจฺจาทโร, เจ้าคณะตำบลกำแพง เขต 2 วัดบ้านดอกรัก ตำบลกำแพง

อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 25 มีนาคม 2563.

นายชัย แก้วหอม, เกษตรกร หมู่ที่ 2 บ้านเขวาตะคลอง ตำบลทุ่งทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 3 เมษายน 2563.

นายเสาร์ ภางาม, เกษตรกร หมู่ที่ 6 บ้านซึกวึก ตำบลทุ่งทอง อำเภอเกษตรวิสัย

จังหวัดร้อยเอ็ด, 2 เมษายน 2563.

นายวิไล หงส์ทะนี, กำนัน ตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 4 เมษายน 2563.

นายสนิท นะไสย, ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12 บ้านสระทอง ตำบลกำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 3 เมษายน 2563.

นายสุด สุขแสวง. ปราชญ์ชาวบ้านปราชญ์นาหยอด หมู่ที่ 12 บ้านสระทอง ตำบลกำแพง

อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด, 3 เมษายน 2563.