การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ในช่วงวิกฤติการณ์ COVID-19 เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงินของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ในช่วงวิกฤติการณ์ COVID-19 ในการส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ทางการเงินก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ 2) แบบวัดความฉลาดรู้ทางการเงิน และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นหลังร่วมกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์
ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ในช่วงวิกฤติการณ์ COVID-19 เรื่อง การออมและการลงทุน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ทางการเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประยุกต์ใช้กระบวนการโค้ชทีม 6C Model มีประสิทธิภาพเท่ากับ 75.56/76.30 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความฉลาดรู้ทางการเงินหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) ความคิดเห็นของนักเรียนหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เศรษฐศาสตร์โดยใช้กระบวนการโค้ชออนไลน์ พบว่า นักเรียนมีความฉลาดรู้ทางการเงิน เห็นแนวทางในการนำข้อผิดพลาดมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเงินในรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพการเงินของตนเอง อีกทั้งยังตระหนักถึงความสำคัญของความฉลาดรู้ทางการเงินว่ามีความสำคัญกับตนเองมากน้อยเพียงใด เป็นผลมาจากกิจกรรมการโค้ชที่สะท้อนให้นักเรียนเห็นว่าการตั้งเป้าหมายทางการเงินส่งผลให้บุคคลที่มีเป้าหมายนั้นประสบความสำเร็จในด้านการเงิน
Article Details
References
กมลขนก สกนธวัฒน์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. การศึกษามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะเอาชีวิตรอดจากภัยพิบัติธรรมชาติ : กรณีศึกษาถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย ด้วยกระบวนการโค้ช. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทัศนีย์ จารุสมบัติ. (2561). ชีวิตที่ใช่ ในแบบโค้ชและฟา. (1). กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริ้นท์ ซิตี้ จำกัด.
ปัญญ์ประคอง สาธรรม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรพัฒนาครูโดยใช้การโค้ชเชิงบวก เพื่อพัฒนาหลักสูตรการบริโภคสื่ออย่างรู้เท่าทัน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ปรินทร์ ทองเผือก. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนเศรษฐศาสตร์โดยใช้เกมจำลองสถานการณ์ที่มีต่อการรู้เรื่องการเงินของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทยปี 2559. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
พสุธิดา ตันตราจิณ. (2563). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชเพื่อผู้บริหารระดับกลางในธุรกิจตัวแทนขายรถยนต์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34 (110), 222.
มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 45.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คำสมัย.
สถาบันคีนันแห่งเอเชีย. (2558). โครงการ “คนไทยก้าวไกล ใส่ใจการเงิน” 2558. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิซิตี้.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิริวรรณ สุวรรณอาภา. (2543). เอกสารการสอนชุดวิชาระบบการเรียนการสอน Learning teaching system. (14). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุดาสวรรค์ งามมงคลวงศ์ และสุริยะ พุ่มเฉลิม. (2561). การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์สำหรับการอบรมผู้ประเมินภายนอกในการประเมินคุณภาพภายนอกแบบ Expert Judgment. สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ 2561.
Stefan Stenbom and Stefan Hrastinski. (2012). STUDENT-STUDENT ONLINE COACHING AS A
RELATIONSHIP OF INQUIRY: AN EXPLORATORY STUDY FROM THE COACH PERSPECTIVE. KTH Royal Institute of Technology, Sweden.