แนวทางการจัดการคุณภาพการบริการอาหารและเครื่องดื่มเพื่อส่งเสริมไวน์ไทย ให้เป็นที่ดึงดูด กรณีศึกษาห้องอาหารประเภทไฟน์ ไดนิ่งในโรงแรมจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ฉัตรมณี ประทุมทอง
สันติธร ภูริภักดี

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการคุณภาพการบริการอาหารและเครื่องดื่มกับไวน์ไทย 2) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าการบริการอาหารและเครื่องดื่มกับไวน์ไทย และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการส่งเสริมไวน์ไทยให้เป็นที่ดึงดูดสำหรับห้องอาหารประเภทไฟน์ ไดนิ่งในโรงแรมจังหวัดภูเก็ต โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มพนักงานระดับปฏิบัติการ และกลุ่มผู้ใช้บริการห้องอาหารประเภทไฟน์ ไดนิ่งในโรงแรม ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 22 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า 
           1) การจัดการคุณภาพการบริการ ลูกค้าพึงพอใจการจับคู่อาหารกับไวน์ไทยของห้องอาหาร ชอบฟังเรื่องเล่าความเป็นมา กระบวนการปลูกองุ่นและผลิตไวน์ของไร่ไวน์ในเมืองไทยแต่ละพื้นที่ และสนุกสนานกับการหาอัตลักษณ์ของไวน์ไทย
          2) การรับรู้คุณค่าการบริการ ลูกค้ามีความสนใจการบริการอาหารและเครื่องดื่มกับไวน์ไทยเป็นอย่างมากเมื่อได้รับคำแนะนำ ชื่นชอบในความสดใหม่ของอาหารที่จับคู่ไปได้ดีกับไวน์ไทย พึงพอใจในราคาของไวน์ไทย มีพฤติกรรมการกลับมาใช้บริการซ้ำและบอกต่อกับผู้บริโภคคนถัดไป และ
          3) แนวทางในการจัดการส่งเสริมไวน์ไทยให้เป็นที่ดึงดูด พบว่ามี 3 แนวทางคือ การเล่าเรื่องไวน์ของไทย (Storytelling) การทดลองชิมไวน์ไทย (Wine Tasting) และ การจับคู่อาหารกับไวน์ไทย (Wine Pairing)
          ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ นำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการคุณภาพการบริการอาหารและเครื่องดื่มเพื่อส่งเสริมไวน์ไทยให้เป็นที่ดึงดูด สร้างความน่าสนใจให้เกิดความภาคภูมิใจ และเป็นการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสำหรับไวน์สัญชาติไทยในธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองบัญชีประชาชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 1/2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5176&filename=QGDPreport

เตชิตา ภัทรศร และพิมพ์มาดา วิชาศิลป์. (2564). การส่งเสริมประเทศไทยให้กลายเป็นจุดหมายปลายทางทางการท่องเที่ยวไร่องุ่นไวน์สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8 (2), 156-172.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2562). การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว.กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

บุญลดา คุณาเวชกิจและคณะ. (2564). หลักการบริหารงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 3 (1), 109-119.

เพ็ญวิภา ทรงบัณฑิต. (2553). คุณภาพการบริการของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในไร่องุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ราตรีญา ขาวกลิบ. (2561). มาตรฐานอาชีพของผู้ปฏิบัติงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4 (2), 104-114.

ลิขิต กนกหิรัญญากร. (2559). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ. คณะการจัดการการท่องเที่ยว: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วัชราภรณ์ จันทร์เวชวิโรจน์. (2559). การสื่อสารปากต่อปากผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการดำเนินชีวิต และทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารระดับหรูของกลุ่มคนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมาคมโรงแรมไทย. (2565). รายชื่อโรงแรม/รีสอร์ท ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.thaihotels.org/ attach ments/view/?attach_id=261627

สุรัติ สุพิชญางกูร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภคในอุตสาหกรรมไวน์. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 6 (1), 01-06.

สุวิทย์ จันทร์เพ็ญ. (2558). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตร : กรณีศึกษา ไร่องุ่นกราน มอนเต้ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อารี วิบูลย์พงศ์ และคณะ. (2546). พฤติกรรมการบริโภคไวน์และและทัศนคติต่อไวน์พื้นบ้านของผู้บริโภคตลาดระดับกลาง. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7 (2-3), 18-33.

Ben Dewald, B.W.A. (2008). The role of the sommeliers and their influence on US restaurant wine sales. International Journal of Wine Business Research, 20 (2), 111-123.