รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ

Main Article Content

ศุภกฤต ดิษฐสุวรรณ

บทคัดย่อ

          การพัฒนาครูเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม และจะต้องดำเนินการออกแบบจัดระบบการพัฒนาให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในการพัฒนาของครูให้มากที่สุด ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนในทุกระบบและทุกมิติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อตอบสนองสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินการพัฒนาครู เพื่อนำทางไปสู่การสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน การพัฒนาครูจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง โดยมีเป้าหมายที่จะยกระดับศักยภาพ การจัดการเรียนรู้ของครู ให้สามารถออกแบบการสอนหรือสร้างแหล่งเรียนรู้ และนำเสนอนวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อครูเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก เป็นแหล่งสืบค้นและเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพต่อการศึกษาเรียนรู้ทั้งของครูและผู้เรียน ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทต่อการจัดการศึกษา เพราะเป็นการบูรณาการยุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน อีกทั้งยังมีช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่สามารถตอบสนองการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนั้นการศึกษายุค 4.0 ต้องยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลง คิดใหม่และใช้ประโยชน์จากทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประโยชน์ ครูมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุน แนะแนวจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการสอนของตนอย่างมีประสิทธิภาพ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2561 : 17)
          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ และ 3)ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ประชากร คือ ครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยคำนวณค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ในภาพรวมพบว่า มีสภาพจริงอยู่ในระดับมาก มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ลำดับที่ 2 การวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ ลำดับที่ 3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และลำดับที่ 4 การสนับสนุนการเรียนรู้   2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการสุวรรณภูมิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) หลังจากทดลองใช้รูปแบบแล้ว ในภาพรวม สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมากที่สุด ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ภาพรวมอยู่ในระดับยอดเยี่ยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์. (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวายสังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ณัทชลิดา บุตรดีวงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18.การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร. บัณฑิตวิทยาลัย: การศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิกร โภคอุดม. (2564). ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 14 (2),

ประทินทิพย์ พรไชยยา. (2561). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 4 (1), 25-43.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.(2561). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ว่าที่ร้อยตรีสุธน ศรีศักดิ์บางเตย (2562). แนวทางพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนพระแท่นดงรังวิทยาคาร. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรณู จันทพันธ์. (2557). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุขสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.

วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช และ ชไมพร ศรีสุราช (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5 (ฉบับพิเศษ), 195-207.

ศิวพร ศรีมังคละ. (2561). สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐาน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการสารสนเทศและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2550). ชุดฝึกอบรมครู : ประมวลสาระ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา องค์การมหาชนเฉพาะกิจ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. พริกหวานกราฟฟค.

สุกัญญา แช่มช้อย.(2562).การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวรรณ ป้อมดำ. (2558). การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 5, 221-232.

Heneman, H. G., Schwab, D. P., Fossum, J. A., & Dyer, L. D. (1983). Personnel/ Human Resource Management. Illinois: Irwin. Kell.