การบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคใต้ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

วราภรณ์ จิตชาญวิชัย
อัจฉรา ธรรมาภรณ์
ประชา ฤาชุตกุล
สุภัทรา ภูษิตรัตนนาวลี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคใต้ 2) เปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูตามตัวแปรอิสระ 3) ข้อเสนอแนะการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคใต้ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจำนวน 217 คน  ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์       ความเชื่อมั่นเท่ากับ .984 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) ครูที่เพศ วุฒิการศึกษา วิทยฐานะ ต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน ครูที่อยู่ในโรงเรียนที่ผู้บริหารมีวิทยฐานะแตกต่างกัน และครูที่อยู่ในโรงเรียนที่ผู้บริหารเพศต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ  3) ข้อเสนอแนะคือผู้บริหารต้องมีความรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ จัดโครงสร้างการบริหารงานวิชาการอย่างเป็นระบบ นิเทศกำกับ ติดตามงาน พัฒนารูปแบบการให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ พัฒนาองค์ความรู้ให้กับครู และประสานความร่วมมือกับหน่วยงาน ชุมชน ภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ สนับสนุนให้ชุมชนมีความรู้ พึ่งพาตนเองได้ และต้องพัฒนารูปแบบการให้บริการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชพรพรรณ สุทธิหิรัญพงศ์. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู และบุคลากรทางการศึกษา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

โกศล ประสงค์สุข. (2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้สู่ความยั่งยืน. นครราชสีมา.

ชูศักดิ์ ศิริเชียงพิณ, พนัส นาคบุญ และจิรุตถ์ ภู่เจริญ. (2563). สภาพการบริหารงานวิชาการของ หน่วยบริการ อำเภอศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ทรงพล เจริญคำ. (2562). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจักและการบริหารการศึกษาในยุดปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.

นัสเซอร์อาลี เกปัน. (2562). ประสิทธิภาพการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอันซอเรียะห์อัดดีนียะห์ จังหวัดสตูล. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประสาสนศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.