ผลกระทบระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบระหว่างอัตราส่วนทางการเงินที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี ของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเลือกเฉพาะบริษัทที่งบการเงินสมบูรณ์และครบ 5 ปี ในช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2564 จำนวน 105 บริษัท รวมทั้งสิ้น 525 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการศึกษามีจำนวน 10 อัตราส่วน ได้แก่ 1) อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (CR) 2) อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (ART) 3) อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (FAT) 4) อัตราส่วนการหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) 5) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 6) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (D/R) 7) อัตราส่วนวัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (ICR) 8)อัตราส่วนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ (NPM) 9)อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) 10) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA)
ผลการวิจัยพบว่ามีอัตราส่วนที่มีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ มีจำนวน 6 อัตราส่วน ได้แก่ อัตราส่วนการหมุนของสินทรัพย์รวม (TAT) อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม (D/R) อัตราส่วนผลตอบแทนจากกำไรสุทธิ (NPM) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในทิศทางเดียวกัน ส่วน อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (ART) และ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ในทิศทางตรงกันข้าม
Article Details
References
จรินทร นามขาน, ภูษณิศา ส่งเจริญ และ สุรีรัตน์ สหุนาฬุ. (2565 : 342-355). ความสัมพันธ์ระหว่าง
ความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนของ คณะกรรมการบริหารของบริษัทจดทะเบียน ใน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชภาค, ปีที่ 16 ฉบับที่ 46 พฤษภาคม – มิถุนายน 2565 -
TCI กลุ่มที่ 1 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2564-2567.
ชุดาพร สอนภักดี และ ทาริกา แย้มขะมัง. (2564 : 151-164). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับ
ราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและ
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2564 – TCI กลุ่มที่
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2563-2567
วัชธนพงศ์ ยอดราช และ พรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับ
ความสามารถในการทำกำไรของกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทย. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม 2564
ทวีชัย เวชคุณานุกูล, อรไท ชั้วเจริญ และพรมนัส สิริธรังศร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทาง
การเงินกับราคาหุ้นสามัญในธุรกิจหมวดพลังงานและ สาธารณูปโภค ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย. Journal of Management Science Nakhon Pathom Rajabhat University,
Vol.5 No.2 July- December 2018
ภูษณิศา ส่งเจริญ. (2564). เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินและอัตราผลตอบแทน จาก
สินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 15 ฉบับที่
มกราคม – กุมภาพันธ์ 2564
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร, เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย และอนุวัฒน์ ภักดี. (2562). รายงานทางการเงินและการ
วิเคราะห์. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 1
ศิวัช จันทรโชต. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ กรณีศึกษา : กล่ม
เกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สภาวิชาชีพบัญชี. (2563). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน. ออนไลน์.
สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. แหลงที่มา :
http://www.fap.or.th/images/ column_1450924281/Framework.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565. แหลงที่มา :
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
Anderson, D., Sweeney, D., Williams, T., Camm, J., & Cochran, J. (2014). Statistics for
Business and Economics. (13rd ed). Cengage Learning.
Martani, D., & Khairurizka, R. (2009). The effect of financial ratios, firm size, and cash flow
from operating activities in the interim report to the stock return. Chinese Business
Review, 8(6), 44-55.
Nursari, F., & Suriawinata, I. (2020). The Influence of Financial Ratios and Company Size on
Stock Returns (Case Study on Consumer Goods Industry Listed on the Indonesia Stock
Exchange 2014-2018). Department of Management Indonesian College of Economics,
Jakarta, Indonesia.
Siminica, M., Circiumaru, D., & Simion, D. (2012). The correlation between the return on
assets and the measures of financial balance for Romanian companies. International
journal of mathematical models and methods in applied sciences, Volume 6 Issue 2,
Sukmawati, F., & Garsela, I. (2016). The Effect of Return on Assets and Return on Equity to
the Stock Price. Proceedings of the 2016 Global Conference on Business, Management
and Entrepreneurship, Advances in Economics, Business and Management
Research, 15, 53- 57
Saleh, M. (2015). Relationship between Firm’s Financial Performance and Stock Returns:
Evidence from Oil and Gas Sector Pakistan. Journal of Energy Technologies and Policy,
(10), 27- 32.
Ussahawanitchakit, weerachai. (2001). Resource-Vase Determinants of Export Performance :
Effect of ISO 9000 Certification. Doctor’s Thesis. Washington: Washington State
University