ความสามารถในการวางแผนอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวางแผนอาชีพมีความเกี่ยวพันกับพัฒนาการด้านอาชีพเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงได้เสมอและเริ่มต้นได้ตั้งแต่เยาว์วัย การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีเพื่อศึกษาระดับความสามารถในการวางแผนอาชีพและความต้องการการเรียนรู้เรื่องการวางแผนอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนในประเทศไทยโดยใช้แบบวัดระดับความสามารถในการวางแผนอาชีพ 3 Ds เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากตัวอย่างนักเรียน 480 คนจากการสุ่มหลายขั้นตอน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นภาพรวมความเข้าใจของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อ (1) การตระหนักรู้ถึงการวางแผนอาชีพ (2) บุคคลที่สามารถเข้าถึงเพื่อขอความช่วยเหลือในการวางแผนอาชีพ และ (3) ความเข้าใจต่อกระบวนการวางแผนอาชีพ นอกจากนี้ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการวางแผนอาชีพจำเป็นอย่างยิ่งต่อนักเรียน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วนักเรียนจะพึ่งพาผู้ปกครอง เพื่อน และโซเชียลมีเดียในการช่วยเหลือเรื่องการวางแผนอาชีพ เช่น การตัดสินใจเลือกอาชีพ หรือการหาข้อมูลและความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่ตนเองสนใจ และความเข้าใจต่อกระบวนการวางแผนอาชีพอยู่ในระดับสูงในขั้นตอนการลงมือทำตามแผน ขั้นตอนการวินิจฉัยตนเอง และขั้นตอนการออกแบบชีวิตตามลำดับ อย่างไรก็ตามในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบชีวิตแสดงให้เห็นความสามารถในการวางแผนอาชีพระดับปานกลาง เช่น ความสามารถในการมองเห็นอนาคของตนเองภายใน 5-10 ปี การวางแผนอาชีพในระยะสั้น และการยอมให้บุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการประเมินแผนอาชีพของตนเอง ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลวิจัยในครั้งนี้ คือ ควรมีโปรแกรมการวางแผนอาชีพเพื่อนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยนักเรียนจะมีส่วนร่วมในการวางแผนและประเมินแผน และควรมีการร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชนต่อเรื่องนี้
Article Details
References
กมลชนก วงวาฬ. (2562). การเสริมสร้างการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาด้วยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา : มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงแรงงาน. (2565). การตัดสินใจเลือกอาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562 แหล่งที่มา https://lb.mol.go.th/คนหางาน-คนว่างงาน/แนะแนวอาชีพ/การตัดสินใจเลือกอาชีพ
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการผลิตและบริหารชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินการศึกษา. (2545). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
จิราภา บุตรสีตะราช. (2563). การเสริมสร้างความพร้อมทางอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโดยกิจกรรมแนะแนว. การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จักรพงศ์ แผ่นทอง. (2563). การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2565แหล่งที่มา https://krujakkrapong.com/หาความเชื่อมั่นของแบบส/
นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2532). พัฒนาการทางอาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รายงานสถิติจำนวนห้องเรียนและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายในระบบโรงเรียนของประเทศไทย จำแนกตามสังกัดและชั้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2562 แหล่งที่มา https://gdcatalog.go.th/dataset/gdpublish-dataset-15_17/resource/9786627c-3cfa-4db7-a734-0f8c409d0214
Alberta Advance Education and Technology. (2009). This is your life: A career and education planning guide. Alberta: Alberta Advance Education and Technology.
Amir Nordin, M. H., & Seng, H. (2021). Exploring Children's Career Planning Through Career Guidance Activities: A Case Study. International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development, 10, 754-765.
Bardick, A. D., Bernes, K. B., Magnusson, K. C., & Witko, K. D. (2004). Junior high career planning: What students want. Canadian journal of counselling, 38 (2), 104-117.
Bardick, A. D., Bernes, K. B., Magnusson, K. C., & Witko, K. D. (2006). Junior high school students' career plans for the future. Journal of career development, 32 (3), 250-271.
Lindahl, S. J., Long, P. N., & Arnett, R. (2002). Academic readiness and career/life planning: A collaborative partnership focused on student learning. Journal of career development, 28 (4), 247-262.
Lock, R. D. (2000). Taking charge of your career direction: Career planning guidebook 1 (4 ed.). Belmont, CA: Wandsworth/Thomson Learning.
Magnuson, C. S., & Starr, M. F. (2000). How Early Is Too Early to Begin Life Career Planning? The Importance of the Elementary School Years. Journal of career development, 27 (2), 89-101.
Otte, F. L., & Kahnweiler, W. M. (1995). Long-range career planning during turbulent. Business Horizons, 38 (1), 2-7.
Xiao, J. J., Newman, B. M., & Chu, B.-S. (2016). Career preparation of high school students: A multi-country study. Youth and society, 1-23.