การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ในรูปแบบ Web Application
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ web application 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังจากการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ web application 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ 4) ศึกษาจำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนผ่านเกณฑ์ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ web application โดยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา จำนวน 25 คน และโรงเรียนนวมราชานุสรณ์ จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยผู้วิจัยได้แบ่งระดับของความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับชุดตัวเลข 3 หลัก และ ระดับชุดตัวเลข 4 หลัก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการวิจัย ได้แก่ 1) เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ web application 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ในรูปแบบ web application สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ t (t-test for dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในรูปแบบ web application มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.94) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนของนักเรียนหลังใช้เกมสูงกว่าก่อนใช้เกมทั้งในระดับชุดตัวเลข 3 หลัก และ 4 หลัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงจำนวนของนักเรียน ในระดับชุดตัวเลข 3 หลัก สูงกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ในระดับชุดตัวเลข 4 หลัก ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ในระดับชุดตัวเลข 3 หลัก
มีจำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 81.67 และ ในระดับชุดตัวเลข 4 หลัก มีจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 และ 5) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.99)
Article Details
References
จารุวรรณ โฉมเฉลา. (2554). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การให้เหตุผล ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี:
พี บาลานซ์ดีไซน์แอนปริ้นติ้ง.
ธิษณะ จงเจษฎ์. (2561). การสอนซ่อมเสริมโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเรื่องการดำเนินการ
ของจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชา
คณิตศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พจนีย์ สุขชาวนา. (2548). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กาญจนบุรี : TOP Double A.
ไพศาล แมลงทับทอง. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบอุปนัยและนิรนัยที่มีต่อความ
สามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารด้านการเขียนทางคณิตศาสตร์ เรื่องทฤษฎี
จำนวนเบื้องต้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 102-113.
วิสุทธิ์ คงกัลป์. (2558). Math League เทคนิคการสอนรูปแบบใหม่ที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็น
อย่างดี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). คู่มือครูรายวิชาเพิ่มเติม
คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร: สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา http://www.ipst.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการ
เรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธ
ศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐).
กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Sheila Kloefkorn. (2013). The Importance of Numerical Reasoning. Online. Retrieved June 24, 2022. from : https://www.eskill.com/blog/numerical-reasoning
WikiJob. (2022). Numerical Reasoning Test: FREE Practice & Examples. Online. Retrieved June 24, 2022. from : https://www.wikijob.co.uk