การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยผ่านกระบวนการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)

Main Article Content

พรหมมา วิหคไพบูลย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยผ่านกระบวนการทำโครงงานคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)  2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ที่สร้างขึ้น  3) เพื่อประเมินทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ของนักเรียน มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ชั้นปีที่ 4 ที่ลงทะเบียนในรายวิชาโครงงานคณิตศาสตร์ จำนวน 57 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโคกสว่าง และโรงเรียนบ้านลิ้นฟ้า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขาเพิ่มนารีผลวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา  3) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ตามสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง


          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา เป็นชุดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย ข้อสอบก่อนเรียน ใบความรู้ ใบงาน ข้อสอบหลังเรียน และข้อสอบ O-NET จำแนกเป็น 16 เรื่อง  ตามกลุ่มสาระ มาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ของผู้เรียนเมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ชุดกิจกรรมมีความสอดคล้องและความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา พบว่า เพิ่มขึ้นทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). 101 โครงงานคณิตศาสตร์. แปลหนังสือ 101 Mathematical Projects ของ

Cambridge University Press. กรมวิชาการผู้จัดพิมพ์เป็นภาษาไทย.

จิราภรณ์ ศิริทวี. (2542). “โครงงาน : ทางเลือกใหม่ของการสร้างปัญญาชน”. วารสารวิชาการ. 2(8)

(สิงหาคม 2552) : 33 – 38.

วิภา ชัยสวัสดิ์ (2019). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงงานคณิตศาสตร์และคุณลักษณะพึงประสงค์ทาง

คณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

ร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. Volume 13, Issue 2, 2019, pp.87-96

ถิระจิด บุญเจริญ (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนเรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงานเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา

มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. (2541). โครงงานคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ

ร่วมมือควบคู่กับเกม เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการ

สอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปราริชาติ เชียงสากุล. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการ

สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เป็นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การบวก ลบ คูณ

และหารเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถทศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์สาขาการสอนคณิตศาสตร์ คณะ

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2554). โครงงานคณิตศาสตร์ ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

คณิตศาสตร์. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

……………………….. (2555). โครงงานคณิตศาสตร์ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

คณิตศาสตร์ หน่วยท ี่ 13. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปภัสสร หมุนชม (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการ

เชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าอิสระ

หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พรรณี คงเงิน และคณะ (2560 : 42-54). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนเทศบาลตาคลี (ขุนตาคลีคณะกิจ) จังหวัดนครสวรรค์ที่ได้รับ

การจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้านและเทคนิคการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียน.

วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1

เดือนมกราคม – มิถุนายน 2560.

นรินทร์ธร ผาริการ. (2553). ผลของการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์ที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้

ด้วยตนเองและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2.

ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุพิน พิพิธกุล. (2544). โครงงานคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : แม็ค, พิมพ์ครั้งที่ 1.

สมวงษ์ แปลงประสพโชค และคณะ. (2544). การทำโครงงานคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5-6.

(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สายัณห์ อินปั๋น. (2554). “โครงงานคณิตศาสตร์ที่ควรจำ”. โครงการวิจัยการสอนแบบโครงงานด้วย

การบูรณาการสาระ การเรียนรู้กับวิถีไทย โดยใช้สถิติเป็นฐาน. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรม

ราชูปถัมภ์. (2543). สาระน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจํากัดพิทักษ์การพิมพ์. สุกัญญา แย้มกลีบ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกลวิธี

เมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน

และร้อยละสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย

พิบูลสงคราม ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559.

สุชาติ วงศ์สุวรรณ. (2542). การเรียนรู้ สำหรับศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้

ด้วยตนเอง “โครงงาน”. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์พัฒนาหลักสูตร กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และ

ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระ

การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม

สหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่ม

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี.

Bardo,J.W.,and Hardman J. J. (1982). Urban Sociology : A Systematic Introduction. U.S.A.: F.E.Peacock Publisher.

Heather. Glan. (1977). “A Working Definition of Individualized Instructional”.

in Journal the Educational Leadership.8:342-344.

Longman, (1987). Dictionary of Contemporary English. England : Clays Ltd.

Raj, M. (1996). Encyclopedic Dictionary of psychology and Education. Volumn 3 (M-Z) NewDelhi : ANMOL Publications PVT.

Tosi, H.L. and Carroll, S.J. (1982). Management. 2nd. ed. New York : John Wiley & Sons.

Willer, D. (1987). Scientific Sociology : Theory and Method. Englewood Cliff. N.J. : Prentice-Hall. Inc..