การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน Local Context Based Learning : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถ ด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชลธิชา พิมพ์ทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนา และหาประสิทธิภาพของการใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน Local Context Based Learning : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อทดลองใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนท่านางแนววิทยายน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) จำนวน 1 ห้องเรียน มีการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) :การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development : D and D) แนวทาง/วิธีการพัฒนารูปแบบการเรียนการพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R2)  เป็นการนำไปใช้ (Implementation ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) สถิติที่ใช้ ค่า ค่าเฉลี่ย  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่า 
          1) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้ 1) มีกรอบแนวคิดทฤษฎีมาจากแนวคิดขั้นพัฒนากลยุทธ์การสอนพัฒนา และเลือกสื่อการสอน พัฒนาเครื่องมือประเมินผลร่วมกับแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) การออกแบบ การเรียนการสอนเชิงระบบของเคมพ์ (Kemp. 1985 : 18) และดิคก์ และแคเรย์ (Dick and Carey. 2005 : 1-8) การประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) และการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self–Directed Learning) และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้  1) ขั้นการกระตุ้นในการเรียน (Stimulation) 2) ขั้นการสอน (Coaching)  3) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (Team work)  4) ขั้นการนำไปใช้ได้จริง (Usage of real situation) 5) ขั้นสรุปบทเรียนและประมินผล (Evaluation) และมีวิจัยการประยุกต์ร่วมกับกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 
          2) ผลการพัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.40 แสดงว่ามีความเหมาะสมในการนำไปใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
          3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลโดยรวมหลังการพัฒนาทักษะความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ มีทักษะเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนได้รับการพัฒนาทักษะความสามารถการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          4) ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย                   
                4.1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  มีค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 84.89/87.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80  ที่กำหนดไว้ และ มีค่าดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6373 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้  
               4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการบริบทท้องถิ่นเป็นฐาน  Local Context Based Learning  : LBL เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อพิจารณาโดยรวมค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.61 ซึ่งอยู่ในช่วงคะแนนระหว่าง 4.20 – 4.88 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42ซึ่งอยู่ในช่วงคะแนนระหว่าง 0.33 – 0.56 แสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หนังสือเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สกสค. ลาดพร้าว,

กระทรวงศึกษาธิการ (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นเมืองพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

กมล ชูกลิ่น (2550). พัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำภาษาต่างประเทศชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จันทรา ตันติพงศานุรักษ์. (2543). การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะร่วมกับการเรียนรู้แบบวัฏจักร 7 ขั้น.วารสารวิชาการ. 3 (12), 36-55.

ชนาธิป ผลวาวแวว. (2548). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาต่างประเทศ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิมพ์ใจ เพชรฤทธิ์. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 :สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สันทวดี พางาม (2549). พัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อุษา ขันแข็ง. (2547). การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคายากวิชาภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Johnson,Johnson and Holubec. (1994) Improved relationships and grouping and mental health. Minnesota : Interaction Book Company.