การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยโมเดล APS เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ชลธิชา พิมพ์ทอง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโดยชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบ On-line และ On-Site 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนท่านางแนววิทยายน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  sampling) มีหน่วยการเลือกเป็นห้องเรียน (Cluster) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR  (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมนความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
          วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t-test ( t- test one samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.20/81.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ซึ่งแสดงว่ามีประสิทธิภาพ 2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังจากการใช้ชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบ On-line และแบบ On-Site หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะด้านการฟังด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบ Flipped Classroom ร่วมกับ AR (Augmented reality) เรื่อง Having Fun with Listening สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับดีมาก มีค่า  = 4.55 และมีค่า S.D. = 0.79

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2546). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มุ่งเน้นทักษะการสื่อสาร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศาสนา

กาญจนา ปราบพาล และประกายแก้ว โอภานนท์อมตะ. (2543). การสำรวจความสามารถการใช้ภาษาอังกฤษของบัณฑิตไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา และฐิตวีย์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2563). การเรียนการสอนแบบ E-Learning กับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) เป็นสื่อรูปแบบใหม่ทางด้านการศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 14 (1).

ปราณี กุลละวณิชย์. (2549). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และความต้องการภาษาต่างประเทศในภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคตะวันออก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: ม.ป.ท.

เยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ และคณะ . (2549). การวิจัยขั้นพื้นฐานการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ และการใช้ภาษาต่างประเทศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สุมิตรา อังวัฒนากุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.