การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนออทิสติกเรียน ร่วมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus

Main Article Content

จินดาพร มูลกันทา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ ของนักเรียนออทิสติกเรียนร่วม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนออทิสติกเรียนร่วม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนออทิสติกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus และแบบทดสอบความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 50  นาที รวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed- Ranks Test  และการคำนวณคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนออทิสติก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus อยู่ในระดับดี  2) ความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนออทิสติก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการสอนอ่านด้วยวิธี KWL – Plus สูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จีรนันท์ พูนสวัสดิ์. (2554). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับหูตึง จาการสอนอ่านด้วยวิธี KWL Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ทักษพร โพธิ์เหมือน. (2560). การพัฒนาการอ่านจับจความโดยใช้เทคนิค 4W1H ส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

นพรัตน์ พงษ์สุข. (2553). ผลการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยวิธี เค ดับเบิลยู แอล-พลัส ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและเจตคติต่อการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นภเนตร ธรรมบวร. (2549). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าสออฟเคอร์มีสท์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2548). มาตรฐานการศึกษาของชาติ. กรุงเทพมหานคร: สกศ.

โสธิดา ผุฎฐธรรม. (2556). เด็กออทิสติก (Autistic Children). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2558.แหล่งที่มา: http://taamkru.com/th/เด็กออทิสติก/.

อาภรณ์พรรณ พงษ์สวัสดิ์ ( 2550: 98). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรรัตน์ เกษมสุข. (2552). การศึกษาผลการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิลยู แอล พลัส (KWL-Plus) และวิธีปกติในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาราชภัฏสุรินทร์.

Carr E. and Ogle D. (1987). K-W-L Plus A Strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading. 30 (April), 626-631.

Costa, Sally Reed. (1995). Limited Reading Proficient Students in Two Types of Cooperative Learning Group for Reading Instruction. Dissertation Abstract International. 55: 3460.