บทบาทนาฏกรรมฟ้อนภูไทต่อการนำเสนอภาพลักษณ์ของผ้าแพรวาในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย :กรณีศึกษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมมาราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

Main Article Content

นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์
สิริยาพร สาลีพันธ์
พรสวรรค์ พรดอนก่อ

บทคัดย่อ

          ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 9 นับตั้งแต่ที่ทรงได้รับการสถาปนาดำรงพระราชอิสริยศในฐานะพระบรมราชินีนาถแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระองค์ทรงมีพระราชกรณียกิจนานัปการตลอดรัชสมัยในการสนับสนุนส่งเสริมงานฝีมือภูมิปัญญาของไทยด้านผลิตภัณฑ์สิ่งทอและผลงานด้านศิลปะการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะผ้าไหมแพรวา ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเล็งเห็นถึงคุณค่าแห่งศิลปะ จนนำไปสู่การส่งเสริม ประยุกต์และบูรณาการให้กลายเป็นทุนที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจภายในสังคมได้ โดยการนำเอาทรัพยากรผนวกกับภูมิปัญญาของชุมชนมาเป็นจุดเริ่มต้นในการจัดรูปแบบให้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม รวมทั้งศิลปะการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไทเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ถูกนำมาตอบสนองพระราชเสาวนีย์ในการนำมาถ่ายทอดเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้าทางวัฒนธรรมสิ่งทอพื้นถิ่นในมิติทุนทางวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ ผ่านรูปแบบการนำเสนอตัวตนชาติพันธุ์จากนาฎกรรมจนทำให้สิ่งทอของชาวภูไทเป็นที่รู้จักทั้งในเวทีระดับโลก รวมทั้งส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ชุดการแสดงต่างๆ ขึ้นทั่วประเทศในเวลาต่อมา นอกจากนี้นาฏกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท  ยังมีบทบาทสำคัญในการรับใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เสมอมา ดังปรากฏภาพการถวายงานของชาวภูไทในโอกาสสำคัญต่างๆ ทำให้ผลงานด้านนาฏกรรมอีสานได้รับการสนับสนุนให้เป็นผลงานทางนาฏศิลป์ของรัฐชาติไทย และเป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าความมั่นคงมั่งคั่งทางวัฒนธรรมพร้อมทั้งเป็นพลวัตในการขับเคลื่อนภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่ามีประสิทธิภาพ สามารถเสริมสร้างรากฐานชุมนุมทางเศรษฐกิจของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไทให้มีความการขยับขยายพร้อมทั้งทำให้เกิดความเข้มแข็งซึ่งนำไปสู่การพัฒนาผลิตผลทางวัฒนธรรมที่ยั่งยืนภายใต้เอกลักษณ์ที่โดดเด่น


 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์. (2540). ไทมาจากไหนกันแน่?. ม.ป.ท.: อัดสาเนา.

ชัยบดินทร์ สาลีพันธ์. (2540). ประวัติชนชาติภูไท หรือผู้ไท เรณูนคร. ม.ป.ท.: อัดสาเนา.

นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์, (2564). อัตลักษณ์นาฏยศิลป์ชาติพันธุ์เรณูนครในสังคมวัฒนธรรมรัฐชาติไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและสร้างศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พจน์มาลย์ สมรรคบุตร. (2541). การฟ้อนผู้ไทยในเรณูนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา บัณฑิต สาขานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติยา โกมินทรชาติ. (2549). การฟ้อนของชาวภูไท : กรณีศึกษา หมู่วาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาพร คำยุธา. (2546). การฟ้อนของชาวภูไทย : กรณีศึกษา หมู่บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธ์ุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์. มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์.(2543). นาฎยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : ห้องภาพสุวรรณ.