นวัตกรรมการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน

Main Article Content

ณัฐพงค์ คงยัง
กรกฎ ทองขะโชค
จิดาภา พรยิ่ง

บทคัดย่อ

           การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลมีปัญหาการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์บริเวณชายฝั่งทะเล และการลักลอบใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ทำให้เกิดประเด็นข้อพิพาทกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและกลุ่มทุน บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมาย รูปแบบ และกลไกการจัดการ นำไปสู่นวัตกรรมทางกฎหมายในการจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่มเจาะจง และการรับฟังความคิดเห็น ผลวิจัยพบว่า ปัญหาข้อพิพาทและการแย่งชิงทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลใช้ประโยชน์ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ ขาดการบูรณาการของภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนท้องถิ่น และการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย จึงเกิดการรวมกลุ่มของชาวประมงพื้นบ้านกำหนดกฎกติกาข้อตกลงชุมชนร่วมกันเพื่อลดและป้องกันความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำและอนุรักษ์ฟื้นฟูร่วมกัน แต่กฎกติกาข้อตกลงชุมชนไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย จึงเสนอแนวทางจัดทำนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลในรูปแบบของร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ เรื่อง การจัดการทรัพยากรประมงพื้นบ้านทางทะเลอย่างยั่งยืน พ.ศ. .... แบ่งเป็น 5 หมวด รวม 23 ข้อ และควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 โดยเพิ่มเติมมาตรา 50/1 เทศบาลตำบล, มาตรา 53/1 เทศบาลเมือง และมาตรา 56/1 เทศบาลนคร เพื่อให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดการด้านทรัพยากรประมง และควรปรับปรุงแก้ไขอัตราโทษในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 โดยเพิ่มเติมมาตรา 60 วรรคสอง และในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เพิ่มเติมมาตรา 71
วรรคหนึ่ง เพื่อให้สอดคล้องรองรับอัตราโทษในร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกฎ ทองขะโชค และนันทพล กาญจนวัฒน์. (2562). ข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการจัดการลุ่มน้ำทะเลสาบ สงขลา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11 (3), 643-662.

กลุ่มสถิติการประมง กรมประมง. (2564). รายงานข้อมูลมาตรา 9 พ.ร.ก.ประมง 2558. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ

กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา : https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/ view_activities/1408/93156.

ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ, พงศ์เทพ แก้วเสภียร และวงษ์สิริ เรืองศรี. (2565). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมประมง พื้นบ้านเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารสังคมและวัฒนธรรม. 6 (1), 17-33.

ภาวิดา รังสี และปุณยวีร์ หนูประกอบ. (2565). นโยบายการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมปริทรรศน์. 11 (2), 465-477.

นฤดม ทิมประเสริฐ. (2554). กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศิริชัย กุมารจันทร์, กรกฎ ทองขะโชค, เอกราช สุวรรณรัตน์, และ ธานินทร์ เงินถาวร. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. วารสารนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. 7 (2), 96-112.

สยามรัฐ. (2563). ชาวบ้านดอนบุกหาลูกหอยแครงพื้นที่ดอนหอยนครศรี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม

แหล่งที่มา : https://siamrath.co.th/n/168001.

สายัญ ทองศรี. (2562). การขับเคลื่อนชุมชนประมงพื้นบ้านด้วยการจัดการความรู้เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทย จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และชุมชน). สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2560). บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง

การวาง ‘ซั้ง’ เป็นการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำหรือไม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2565

แหล่งที่มา:http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER23/DRAWER004/ GENERAL/DATA0000/00000061.PDF.

อัสรีย์ แดเบาะ. (2564). การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งโดยชุมชนประมงพื้นบ้าน ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. รายงานการวิจัยสถาบันวิจัยและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง : สมาคมรักษ์ทะเลไทย.

ฮาซานี เกะมาซอ. (2564). การศึกษารูปแบบการจัดตั้งร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช ตำบลท่าศาลา จังหวัด

นครศรีธรรมราช. รายงานการวิจัยสถาบันวิจัยและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง : สมาคมรักษ์ทะเลไทย.

Penca, J. (2022). Science, precaution and innovation for sustainable fisheries: The judgement by the Court of Justice of the EU regarding the electric pulse fishing ban. Marine Policy. 135, 104-864.

Steenbergen, D. J., Song, A. M., & Andrew, N. (2022). A theory of scaling for community-based fisheries management. Ambio. 51 (3), 666-677.