การพัฒนากิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคมที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองตื่นรู้ ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคมที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคมที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนโดยใช้การเรียนแบบรับใช้สังคม และศึกษาความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคม ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลวัดอมฤตวารี จังหวัดอุทัยธานี จำนวน 27 คน จำนวน 15 ชั่วโมง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ ทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า
1. กิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคมที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย แนวคิดพื้นฐานของกิจกรรม วัตถุประสงค์ของกิจกรรม เนื้อหาของกิจกรรม กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล โดยกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39) มีประสิทธิภาพ 77.78/78.47 และคู่มือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51)
2. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนแบบรับใช้สังคม ที่เสริมสร้างความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความเป็นพลเมืองตื่นรู้ด้านการเป็นพลเมืองมีส่วนร่วม หลังเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.15)
Article Details
References
ชวาลา เวชยันต์. (2544). การพัฒนาแบบการเรียนการสอนที่ใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมความตระหนักในการรับใช้สังคม ทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ กศ.ด., บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนเด็กให้มีจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: วี พรินท์ (1991).
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเวศ วะสี. (2564). วิกฤตโควิดสอนว่าต้องยกระดับสมรรถนะของชาติให้สูงสุด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยรัฐ
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ริมปิงการพิมพ์.
วันชนะ วุฒิวัย. (2557). ความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดสระประทุม จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศักดิ์ชัย นิรัญทวี และคณะ. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง การเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ศุภรัตน์ รัตนมุขย์ (2557). การเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมกับการสร้างความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคม : รายงานผลการดำเนินวิจัย. สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2557). พลเมืองตื่นรู้เท่าทันสื่อ. รายงานประจำปี 2557 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สุพรรณิการ์ พงศ์ผาสุก. (2558). การบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2564). สังเคราะห์กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ความเป็นชุมชนประชาธิปไตย. Journal of Politics and Governance. 11 (3), 45–65. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/256580.
Dewey, John. (1962). Democracy and education. Boston: Houghton Miffin.