การขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการตนเองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วม และระดับปัจจัยในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดการตนเองอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดกระบี่และจังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาตัวแบบการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของเครือข่ายองค์กรชุมชนต่อการพัฒนานโยบายของภาครัฐ ในมิติของชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง เป็นวิจัยเชิงผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เครือข่ายองค์กรชุมชน ประชาชนทั่วไป ผู้นำท้องถิ่น บุคลากรภาครัฐ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดกระบี่และจังหวัดพัทลุง จำนวน 338 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุป
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างจังหวัดกระบี่ มีความคิดเห็นในระดับการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 ส่วนจังหวัดพัทลุงมีระดับการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.78
2) กลุ่มตัวอย่างจังหวัดกระบี่ มีความคิดเห็นในปัจจัยการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ส่วนจังหวัดพัทลุงมีปัจจัยการมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.45 3) แนวทางในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต้องมีวิธีการพัฒนาที่พัฒนาคนทุกคน ทุกกลุ่มและทุกประเภทในชุมชนให้เข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยให้ข้อมูลความรู้การตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายการขับเคลื่อน
Article Details
References
จิดาภา เร่งมีศรีสุข และนภัทร์ แก้วนาค. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการส่งเสริมความโปร่งใสขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในประชาคมอาเซียน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(2), 105-114.
ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และคณะ. (2561). รูปแบบวิธีการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองในยุค ปฏิรูปของชาวรากหญ้าในจังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ธนจิรา พวงผกา. (2559). ปัจจัยที่มีผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีของเทศบาลตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยะนันท์ ทรงสุนทรวัฒน์, และปิยะนุช เงินคล้าย. (2562). กระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของสภาพลเมือง.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ไพรัตน์ ฉิมหาด, บัญญัติ แพรกปาน และสามิตร อ่อนคง. (2561). การเมืองภาคพลเมืองกับการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
ศิริกัญญา เชาวมัย, และจุฑารัตน์ ชมพันธุ์. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง. วารสารวิจัยและพัฒนา, 10 (2), 71-87.
สภาองค์กรชุมชน. (2562). รายงานประจำปี 2562. ค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://web.codi.or.th/operating_results/20200303-11189/
สมทรง บรรจงธิติทานต์. (2560). แนวทางการจัดการชุมชนพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาบ้านหัวคูตำบลพระยาบันลือ อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(1),
-199.
สมปอง สุวรรณภูมา. (2559). ความต้องการและความคาดหวังของชุมชนท้องถิ่นเกี่ยวกับการให้บริการทางวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). องค์ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทารัฐธรรมนูญฉบับสมุดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงาน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สุจันทรา สะพุ่ม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของททท. กรณีศึกษา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุพัตรา ยอดสุรางค์. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรชุมชนที่มีขีดสมรรถนะสูงในการพัฒนาชุมชน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 1(1), 105-113.
John, M. M. (2018). Effect of community engagement at different project phases on project sustainability in public universities in Kenya: A case study of Jomo Kenyatta
University of Agriculture and Technology. Nairobi: Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology.
Yamane, T. (1967). Taro statistic: An introductory analysis. New York: Harper & row.