นวัตกรรมการตลาดที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจเพื่อสังคม

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

          นวัตกรรมทางการตลาดส่งผลต่อการสร้างมูลเพิ่มต่อธุรกิจและก่อให้เกิดรายได้อย่างยิ่ง สร้างรายได้และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมจำนวนทั้งสิ้น 200 รายสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามลำดับรายชื่อ โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมการตลาดที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจเพื่อสังคม และ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของนวัตกรรมการตลาดที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจเพื่อสังคม ดังนั้นเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยโครงสร้างของแบบสอบถาม 7 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิจัยกำหนดให้การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์กรอบแนวความคิดสมการโครงการสร้าง
          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทั้ง 9 องค์ประกอบมีค่าน้ำหนักมากกว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ยกเว้นข้อคำถามด้านมีการปรับปรุงเทคนิคการกำหนดราคาสินค้า และ 2) ผลการวิเคราะห์พบว่ากรอบแนวความคิดมีความเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square=38.92, df=18, P-value=0.002, RMSEA=0.056)
          ข้อเสนอแนะในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับองค์กรหรือผู้ประกอบการให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น มีการสร้างบรรจุภัณฑ์รูปแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัย พัฒนาการส่งเสริมการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สร้างกลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ สร้างประสบการณ์ทางการตลาดร่วมกับผู้บริโภค และ ส่งเสริมให้สินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานระดับชาติ รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาคได้ ตรงตามรสนิยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชูพงษ์ พันธุ์แดง. (2564). การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการดาเนินงานของธุรกิจ SMEs ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี. 15 (2), 44-53.

ปณิตา แก้วเกตุ. (2555). ความหมาย องค์ประกอบ ประเภท และความสำคัญของนวัตกรรม. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/492092.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2565). การวิเคราะห์นวัตกรรมทางการตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 9 (1), 396-412.

สมเกียรติ สุทธินรากร. (2560). การสร้างนวัตกรรมองค์กร กรณีศึกษา: ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-5-11_1600056047.pdf.

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2564). การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่ม และความสามารถในการจัดการนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรมะม่วงเพื่อการส่งออกในบริบทพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. Southeast Bangkok Journal. 17 (1), 41-54.

ศิริเชษฐ์ สังขะมาน. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าว : กรณีศึกษาจังหวัดยโสธร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.car.chula.ac.th/display 7.php?bib=b2216872

Byrne, B. M. (1994). Structural equation modeling with EQS and EQS/Windows. Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Ferreira, Jorge. (2018). Dynamic capabilities, marketing and innovation capabilities and their impact on competitive advantage and firm performance. Online Retrieved 26 July 2021. From: https://ieeexplore.ieee.org/document/8399271

Gunday, Gurhan et al. (2009). EFFECTS OF INNOVATION TYPES ON FIRM PERFORMANCE. International Journal of Production Economics. 133 (2), 662-676.

Handoyo, Ag. Sunarno. (2015). The effect of marketing innovation, market orientation, and social capital on competitive advantage and marketing performance: A study in MSMEs of embroidery Central Java Province. Journal of Economics, Business, and Accountancy Ventura. 18 (3), 351 – 366.

Hoyle, R. H., & Kenny, D. A. (1999). Statistical power and tests of mediation. In R. H. Hoyle (Ed.), Statistical strategies for small sample research. Newbury Park: Sage.

Jacobsen, Lina. et. al., (2021). Connecting food consumers to organisations, peers, and technical devices: The potential of interactive communication technology to support consumers’ value creation. Trends in Food Sciences & Technology. 109, 622-631

Kline, R. B. (2015). Principles and practice of structural equation modeling. Guilford publications.

Murray, Janet. et. al., (2010). Market orientation and performance of export ventures: the process through marketing capabilities and competitive advantages. J. of the Acad. Mark. Sci. (2011) 39, 252–269.

Northeastern University. (2021). The Importance of Innovation in Business. Online Retrieved 1 September 2021. from: https://www.northeastern.edu/graduate/blog/ importance-of-innovation/

Nuryakin, et al. (2018). Mediating effect of value creation in the relationship between relational capabilities on business performance. Contaduría y Administración. 63 (1), 1-21.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner’s guide to structural equation modeling. Second edition. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.